
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565, กรุงเทพฯ – รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) เปิดเผยถึง แนวทางในการส่งต่อองค์ความรู้เชิงลึกด้าน“Well-being” สู่สาธารณะผ่าน 3 กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในครึ่งหลังของปี 2565
RISC เดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเผยแพร่งานวิจัยและองค์ความรู้ด้าน “Well-being”เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสรรพสิ่งอย่างยั่งยืนผ่าน 3 กิจกรรมที่จะขยายแนวร่วมในการสร้าง Well-being ซึ่งเน้นเจาะกลุ่มสถาปนิก วิศวกร นักพัฒนาโครงการ นักวิชาการองค์กรและบริษัท รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจโดยมุ่งเน้นให้เกิดความหลากหลายของกิจกรรมที่ครอบคลุมในทุกมิติและ RISC เชื่อมั่นว่า 3 กิจกรรมนี้จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงด้าน “Well-being” ให้กับสังคมไทยได้อย่างแน่นอน
Well-Being Engineering Program ซึ่งเป็นหลักสูตรที่จะช่วยสร้างกลุ่มคน “New Army of Well-being” หรือ กองทัพเพื่อความอยู่ดีมีสุข โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัยและประสบการณ์การทำงานในโครงการจริงซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้หลากหลายมาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้จากหลายศาสตร์
เปิดตัวหนังสือ “Sustainnovation”
โดยเป็นหนังสือที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน
พร้อมบทสัมภาษณ์ 10 ผู้ทรงคุณวุฒิ 10
ที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสายอาชีพทั้งจากภาคธุรกิจ การศึกษา และนักวิชาการ เป็นต้น
เปิดตัว RISC 5 Research Hubs for Well-being
ที่รวบรวมทุกองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทั้ง 5 ด้าน เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับสรรพสิ่ง
ไม่ว่าจะเป็น
o งานวิจัยด้านคุณภาพอากาศ (Air Quality)
o งานวิจัยด้านวัสดุและการใช้ทรัพยากร (Materials & Resources)
o งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Plants & Biodiversity)
o งานวิจัยด้านศาสตร์แห่งความสุข (Happiness Science)
o งานวิจัยด้านศาสตร์ความพร้อมรับมือ (Resilience)
ทั้งนี้ดร.สิงห์ กล่าวเสริมในด้านการเผยแพร่งานวิจัย RISC 5 Research Hubs จะช่วยให้เกิดการต่อยอดและประยุกต์ใช้จริงทั้งในภาคอสังหาริมทรัพย์และในด้านอื่น ๆ อีกมาก
เพื่อที่ทุกหน่วยงานจะได้ร่วมกันสร้างสุขภาวะที่ดี (Well-being) ที่ส่งเสริมด้านความยั่งยืนเพื่อให้เกิดประโยชน์ภาพรวมแก่สังคมไทยตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กร ชุมชนเมือง จนถึงระดับโลกต่อไป