Wednesday, December 11, 2024
พระเครื่อง ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ กองทุนสื่อ

กำเนิดพระพิมพ์ เมื่อพุทธธรรมนำสู่พุทธศิลป์

สารคดีชุด พุทธธรรม พุทธศิลป์ พุทธคุณ ค้ำจุนโลก นิตยสารอนุรักษ์

พระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาพ: นครออนไลน์

เมื่อกล่าวถึงพระพิมพ์ยุคโบราณของสยามประเทศซึ่งล้วนแต่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เมื่อลองวิเคราะห์จากหลักฐานด้านโบราณวัตถุพบว่าการสร้างพระพิมพ์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นในยุคต้น ๆ ที่พบทางตอนใต้ของประเทศไทย แถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยะลา ส่วนใหญ่สร้างด้วยดินดิบ พระพิมพ์เหล่านั้นเป็นรูป พระธยานิพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ บางองค์มีจารึกอักษรปัลลวะเป็นคาถา ดังเช่น คาถาเยธมฺมา ฯลฯ เป็นต้น นอกจากพระพิมพ์แล้วยังมีการค้นพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ของฝ่ายมหายานเป็นจำนวนมาก ประติมากรรมและพระพิมพ์เหล่านั้นน่าจะถือกำเนิดขึ้นในยุคศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรโบราณตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทยในปัจจุบันเรื่อยไปจนถึงบางส่วนของประเทศอินโดนีเซีย ชื่อของอาณาจักรชิหลีโฟเช (ศรีวิชัย) ปรากฏในบันทึกการเดินทางของพระภิกษุอี้จิงซึ่งเดินทางผ่านทะเลจีนใต้ ระหว่างการจาริกกลับจากอินเดีย พ.ศ. ๑๒๑๔ – ๑๒๓๖  นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานว่าในสมัยนั้น อาณาจักรศรีวิชัยยังเป็นเมืองที่การศึกษาพุทธศาสนามหายานเจริญรุ่งเรืองมาก มีพระเถระที่เชี่ยวชาญคัมภีร์ฝ่ายมหายานดังที่เคยมีพระเถระองค์สำคัญของอินเดียได้เดินทางมาศึกษายังอาณาจักรนี้เช่น ท่าน ทีปังกรศรีชญาณ อธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ได้ศึกษากับท่านธรรมปาละอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์อภิสัมยาลังการ ปกรณ์สำคัญของนิกายโยคาจาร

วัดพระบรมธาตุ หรือ วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาพ: วิกิพีเดีย
ชมคลิปสารคดีสั้น www.anurakmag.com/anurakmagazine-youtube

ศรีวิชัยเป็นเมืองที่ความเจริญทางศิลปะวิทยาและการศึกษา มีระบบการเรียนการสอนเหมือนกับมหาวิทยาลัยนาลันทาของอินเดีย นับเป็นสมัยที่มหายานมีความรุ่งเรืองสุดในภูมิภาคนี้ รวมทั้งราชวงศ์ไศเรนทร์ก็มีความสัมพันธ์ด้านศาสนาอย่างแน่นแฟ้นกับราชวงศ์ปาละ บรรดาคณาจารย์องค์สำคัญแห่งมหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลา อุทันตบุรีล้วนเคยเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาในดินแดนนี้  ในหนังสือประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีได้กล่าวว่า บริเวณฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของอ่าวไทยยังเป็นศูนย์กลางการแพร่กระจายรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา (มหายาน) ไปสู่ฟูนัน และหมู่เกาะอินโดนีเซียอีกด้วย อันเห็นได้จากการพบเทวรูปที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับของอินเดียที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งพบในภาคใต้ของประเทศไทยก่อนที่จะปากฏขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่แสดงว่าพระพุทธศาสนามหายานเคยเจริญรุ่งเรืองมากในอาณาจักรศรีวิชัย คือ จารึกภาษาสันสกฤตที่วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช แปลโดย ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

พระเจ้ากรุงศรีวิชัยผู้เป็นเจ้าแห่งพระราชาทั้งหลายในโลกทั้งปวง ได้ทรงสร้างปราสาทอิฐทั้ง 3 นี้ เป็นที่บูชาพระโพธิสัตว์เจ้า ผู้ถือดอกบัว (หมายถึง ปัทมปาณีโพธิสัตว์ อันได้แก่พระอวโลกิเตศวรซึ่งจัดอยู่ในปัทมสกุล พระผู้ผจญพระยามาร และพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือวัชระ หมายถึง วัชรปาณีโพธิสัตว์ซึ่งจัดอยู่ในวัชรสกุล)”

ปัจจุบันคงเหลือหลักฐานเพียงประติมากรรม    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่ค้นพบที่อำเภอไชยา ไม่เพียงแต่การสร้างศาสนสถานเท่านั้นแต่กษัตริย์ของอาณาจักรศรีวิชัยยังทรงประพฤติธรรมตามหลักโพธิสัตวมรรคอีกด้วยดังปรากฏหลักฐานในจารึกหลักที่ 24 ความว่า

… อันว่าแสงสว่าง อันแผ่ซ่านไปด้วยเกียรติของพระราชาพระองค์ใด ซึ่งแผ่ไปทั่วไม่รู้เสื่อมสิ้นด้วยพระคุณคือ นยะ (ข้อกำหนดกกหมาย) วินยะ (ความประพฤติตามหลักประเภณีนิยม) ศฺรุตะ (การศึกษาเล่าเรียน) ศมะ (ความสงบ) กฺษมา (ความอดทนหรือการไม่ถือโทษผู้อื่น) ไชรัยยะ (ความหนักแน่นมั่นคง) ตะยาคะ (การบริจาคหรือเสียสละ) ทยุติมติ (ความคิดเห็นหรือพระปรีชาอันรุ่งโรจน์) และทยา (ความกรุณา) เป็นต้น…

ส่วนเรื่องที่ว่ามีการตั้งเมืองนครศรีธรรมราชนั้นคงมีการก่อตั้งเป็นชุมชนมาตั้งแต่ราว  พ.ศ. ๑๐๑๖  ตามข้อสันนิษฐานของหลวงบริบาลภัณฑ์จริง แต่คงจะยังไม่ได้มีการตั้งเป็นอาณาจักร  และมีกษัตริย์ปกครอง  คงจะยังมีการปกครองในรูปหัวหน้าชุมชนย่อยๆ  ส่วนชื่อเมืองคงจะเรียกกันว่า  “ตามพรลิงค์”  หรือ ตมฺพลิงฺคมฺ”  ตามจารึกกาลาสันลงและตามจดหมายเหตุของหลวงจีนอี้จิงที่เรียกว่า “ตั้งมาหลีง” 

        เมืองนครศรีธรรมราชหรือตามพรลิงค์คงจะมีการตั้งเมืองในลักษณะอาณาจักร  มีกษัตริย์ปกครองอย่างแน่ชัดในราว พ.ศ. ๑๗๔๓  เป็นต้นมา  ปฐมกษัตริย์ของนครศรีธรรมราชหรือตามพรลิงค์ก็คือพระเจ้าศรีธรรมโศกราช  หรือพญาศรีธรรมาศกราชนั่นเอง  ทั้งนี้ก็ตรงกับหลักฐานจากตำนานเมืองที่กล่าวว่า “…..ยังมีพญาองค์หนึ่งชื่อพญาศรีธรรมโศกราชมาตั้งสถาน ณ หาดชายทะเลรอบนั้นเป็นเมืองใหญ่  ชื่อเมืองนครศรีธรรมราชมหานคร…”พระเจ้าศรีธรรมโศกราชซึ่งนับเป็นปฐมกษัตริย์ได้ทรงก่อพระเจดีย์บรมธาตุและตั้งพระอารามขึ้นบนหาดทรายแก้ว  และปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ภายหลังที่ได้ปกครองเมืองนครศรีธรรมาราชแล้ว ได้มีการขยายอาณาเขตออกอย่างกว้างขวางดังที่ปรากฏในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่า  มีเมืองขึ้นโดยรอบอาณาเขตเมืองนครศรีธรรมราชราว 12 เมือง แต่ละเมืองกำหนดให้ใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราของเมือง

พระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาพ: นครออนไลน์

ในระยะต้นๆ ของการตั้งเมืองนครศรีธรรมราชได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย  ซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองปาเลมบังในเกาะสุมาตรา  ที่กล่าวว่าเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ภายใต้อำนาจของศรีวิชัยก็เพราะในศิลาจารึกวัดเสมาเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า เมื่อราชวงศ์ไศเลนทรครองกรุงศรีวิชัย  ได้แผ่อาณาเขตจนถึงภาคเหนือของแหลมมลายู  และต่อมาระหว่าง  พ.ศ. ๑๕๕๐  ถึง พ.ศ. ๑๗๕๐ อาณาจักรศรีวิชัยมีประเทศราชตั้งอยู่บนฝั่งสองของแหลมมลายูหลายประเทศ  คือ ปาหัง  ตรังกานุ  กลันตัน  ตามพรลิงค์  (นครศรีธรรมราช)  ครหิ  (ไชยา)  ลังกะสุกะ  เกตุ (ไทรบุรี)  กราตักโกลา (ตะกั่วป่า)  ปับผาละ  จากข้อความดังกล่าวจึงทำให้เชื่อได้ว่า  เมืองนครศรีธรรมราชได้ตกอยู่ในอำนาจอาณาจักรศรีวิชัยมาแล้ว

            หลักฐานอีกข้อหนึ่งที่ยืนยันเป็นนัยๆ  ว่า  เมืองนครศรีธรรมราชได้เคยตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย  ก็คือจารึกภาษาสันสกฤตที่วัดเสมาเมืองที่กล่าวไว้อีกตอนหนึ่งเมื่อแปลแล้วมีใจความว่า

            “ใน พ.ศ. 1318  พระเจ้ากรุงศรีวิชัยได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้ในเมืองนครศรีธรรมราชและสถาปนาพระพุทธวิหารขึ้น 3 หลัง”

            จากข้อความนี้จึงย่อมแสดงว่า  กษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยได้เสด็จลงมาถึงเมืองนครศรีธรรมราชในฐานะเจ้าประเทศผู้ปกครอง

อนึ่ง  ในการเสด็จของกษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยครั้งนั้น  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า  ได้มีการนำพุทธศาสนาลัทธิมหายานลงมาเมืองนครศรีธรรมราชด้วย  ต่อมาจึงได้มีการสร้างสถูปเจดีย์ไว้  เป็นผลให้พุทธศาสนาลัทธิมหายานเจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนแถบนั้น  ชั่วระยะกาลหนึ่ง  ซึ่งมีโบราณสถานปรากฏเป็นพยานหลักฐานให้เห็นมาจนถึงปัจจุบันนี้  เช่นพระบรมธาตุที่อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และพระบรมธาตุองค์เดิมที่นครศรีธรรมราช  เป็นต้น 

            เมืองนครศรีธรรมราชตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยจนกระทั่งถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรศรีวิชัยได้เสื่อมอำนาจลง  ผู้ครองนครศรีธรรมราช  (ตามพรลิงค์)  ซึ่งทรงพระนาม  “พระเจ้าจันทรภาณุ” ได้ถือโอกาสตั้งตัวเป็นอิสระ  พ.ศ๑๗๗๓  แล้วขยายอาณาเขตลงไปทางใต้จนถึงอาณาจักรลังกาสุกะ  ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานี  ส่วนทางเหนือได้ขยายขึ้นไปถึงเมืองไชยา  จึงเป็นอันว่าเมืองนครศรีธรรมราชได้มีอิสรภาพขึ้นเป็นครั้งแรก  ภายหลังจากปลดแอกจากอาณาจักรศรีวิชัยสำเร็จ          

อนึ่ง  ในประชุมจารึกภาคที่ ๒ หน้า ๒๗ ได้กล่าวถึงการลบล้างอิทธิพลของศรีวิชัยที่มีอยู่ในนครศรีธรรมราช  โดยการเปลี่ยนพุทธศาสนาลัทธิมหายาน  ซึ่งเป็นของศรีวิชัยไปเสีย  แล้วนำพุทธศาสนาลัทธิมหายานจากลังกามาเผยแพร่ในเมืองนครศรีธรรมราชแทน

ภาพ: ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (Matichon Academy)

ในการนี้พระองค์ได้ส่งฑูตไปยังลังกา  เพื่ออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปยังเมืองนครศรีธรรมราชใน พ.ศ. ๑๗๙๓ แต่ไม่สำเร็จ 

     ฝ่ายพระศาสนาในประเทศลังกาประเทศมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ในปี พ.ศ. ๑๖๙๖ พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ขึ้นครองราชย์ ทรงปราบปรามกบถทมิฬ สร้างบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น ทรงอุปถัมภ์พระศาสนา และทรงรวมพระสงฆ์ให้เข้าเป็นนิกายเดียว และโปรดให้มีการสังคายนาครั้งที่ ๗ ขึ้น โดยมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน พร้อมด้วยการกสงฆ์ จำนวนกว่า ๑๐๐๐ รูป ใช้เวลาในการทำสังคายนา ๑ ปี จึงสำเร็จ หลังจากที่ได้มีการสังคายนาครั้งนี้แล้วไม่นาน พระเจ้าอนุรุทมหาราช กษัตริย์กรุงอริมัททนปุระ แห่งประเทศพม่า ได้เสด็จไปลังกาทวีป และได้คัดลอกคัมภีร์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา นำไปใช้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศพม่า ต่อแต่นั้นมา บรรดาอาณาจักรที่นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็น ล้านนา สุโขทัย ก็ได้ส่งพระสงฆ์และราชบัณฑิตไปคัดลอกคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา นำไปศึกษาเล่าเรียนในอาณาจักรของตนบ้าง พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปทั้งการศึกษาและปฏิบัติ พระสงฆ์ประเทศต่างๆ เดินทางไปศึกษาธรรมวินัยและบวชแปลงใหม่ แล้วกลับไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในประเทศของตน บ้างก็นิมนต์พระลังกามาด้วย

          สําหรับประเทศไทยคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ได้มาตั้งสํานักเผยแพร่อยู่ ณ เมือง นครศรีธรรมราช ได้รับความนับถืออย่างรวดเร็ว สันนิษฐานว่าพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์น่าจะเข้ามาสู่นครศรีธรรมราชเมื่อราว พ.ศ. ๑๘๐๐ พวกพระภิกษุไทยซึ่งได้ไปบวชแปลง ณ เมืองลังกากลับมาตั้งคณะที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อนแล้วชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกาตามมาช่วยกันสร้างพระมหาธาตุที่เมืองนครศรีธรรมราชแปลงเป็นรูปพระสถูปให้เป็นแบบลังกา และเมื่อเกียรติคุณของพระสงฆ์ลังกาวงศ์แพร่หลายขึ้นไปถึงกรุงสุโขทัยราชธานี พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงทรงเลื่อมใสโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ลังกาวงศ์ขึ้นไปตั้ง ณ กรุงสุโขทัย ลัทธิลังกาวงศ์จึงรุ่งเรืองในสยามแต่นั้นมา ความข้อนี้ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. ๑๘๒๐ ความว่า“พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบพระไตรปิฎก หัวก๊กกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกตนลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราชมา” พ่อขุนรามคำแหงยังทรงโปรดให้สร้าง “วัดป่ามะม่วง” ในบริเวณที่เงียบสงบเหมาะแก่การเจริญภาวนาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอันเป็นกิจของสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี และเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช พร้อมโปรดให้เป็นที่แสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาจัดให้เป็นที่ว่าราชการงานเมืองแก่ข้าราชบริพาร นอกจากนี้พระมหาธรรมราชาลิไทกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ต่อมาได้ทรงนิมนต์พระมหาสามีสังฆราช จากเมืองพัน มาจำพรรษาที่วัดป่ามะม่วง เพื่อทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในการทรงผนวชของพระองค์ โดยพระมหาธรรมราชาลิไททรงจำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๕ พญาลิไทได้ทรงพระราชพระองค์ยังทรงนิพนธ์เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง อันเป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภพภูมิของพระพุทธศาสนาและกรรมที่พาสัตว์ให้ไปปฏิสนธิยังภพภูมิต่าง ๆ นอกจากนี้วัดป่ามะม่วงยังมีพระพิมพ์บรรจุเอาไว้ เรียกขานกันว่า หลวงพ่อโตะลักษณะเป็นพระเนื้อดินศิลปะสุโขทัย มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด เนื้อมวลสารมีส่วนผสมของเนื้อว่าน เป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงมากอย่างหนึ่ง

             จากการที่อาณาจักรสุโขทัยประกาศตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรขอม อาณาจักรสุโขทัยได้รับเอาพระพุทธศาสนาเถรวาทจากลังกาเข้ามาด้วยซึ่งเรียกว่าเถรวาทแบบลังกาวงศ์และเลิกนับถือพุทธศาสนามหายานแบบขอมที่เคยเจริญรุ่งเรืองในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อย่างไรก็ตามแม้สุโขทัยจะไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานแล้วก็ตามแต่ยังมีคณะสงฆ์ที่สืบมาจากลพบุรีที่เป็นภิกษุฝ่ายมหายานหลงเหลืออยู่ด้วย   หรือพระภิกษุที่ยังคงแนวคิดของมหายานเอาไว้ สันนิษฐานว่าพระสงฆ์กลุ่มนี้เองที่เป็นผู้สร้างพระพิมพ์จำนวนมากแล้วบรรจุไว้ในพระเจดีย์แถบเมืองกำแพงเพชร และยังปรากฏลานเงินบ่งบอกถึงอานุภาพและอาราธนาวิธีโดยประการต่าง ๆ  อีกทั้งพระพิมพ์บางชนิดเป็นพระพิมพ์ที่อาศัยความเชื่อแบบมหายานโดยตรงเช่น พระร่วงหลังรางปืน พระพิมพ์ตรีกาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อฤาษีพิมพิลาไลยเป็นผู้ช่วยสร้างพระพิมพ์เหล่านี้   ซึ่งฤาษีเหล่านี้น่าจะเป็นกลุ่มภิกษุมหายานที่อาศัยอยู่ตามถ้ำในป่าเนื่องจากผู้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนามหายานดังนั้นพระภิกษุในนิกายมหายานจึงต้องออกจากพระอารามซึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นอารามของพระภิกษุเถรวาทและในภายหลังอาจจะสึกแล้วบวชเป็นนักบวชประเภทหนึ่ง อย่างไรก็ตามคำว่าฤาษีที่ปรากฏในลานเงิน ลานทองและจารึกต่าง ๆ นั้นน่าจะเป็นนักบวชแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่พวกโยคีของศาสนาพราหมณ์แต่อย่างใด

ฝ่ายพระศาสนาในประเทศลังกาประเทศมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ในปี พ.ศ. ๑๖๙๖ พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ขึ้นครองราชย์ ทรงปราบปรามกบถทมิฬ สร้างบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น ทรงอุปถัมภ์พระศาสนา และทรงรวมพระสงฆ์ให้เข้าเป็นนิกายเดียว และโปรดให้มีการสังคายนาครั้งที่ ๗ ขึ้น โดยมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน พร้อมด้วยการกสงฆ์ จำนวนกว่า ๑๐๐๐ รูป ใช้เวลาในการทำสังคายนา ๑ ปี จึงสำเร็จ หลังจากที่ได้มีการสังคายนาครั้งนี้แล้วไม่นาน พระเจ้าอนุรุทมหาราช กษัตริย์กรุงอริมัททนปุระ แห่งประเทศพม่า ได้เสด็จไปลังกาทวีป และได้คัดลอกคัมภีร์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา นำไปใช้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศพม่า ต่อแต่นั้นมา บรรดาอาณาจักรที่นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็น ล้านนา สุโขทัย ก็ได้ส่งพระสงฆ์และราชบัณฑิตไปคัดลอกคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา นำไปศึกษาเล่าเรียนในอาณาจักรของตนบ้าง พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปทั้งการศึกษาและปฏิบัติ พระสงฆ์ประเทศต่างๆ เดินทางไปศึกษาธรรมวินัยและบวชแปลงใหม่ แล้วกลับไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในประเทศของตน บ้างก็นิมนต์พระลังกามาด้วย

          สําหรับประเทศไทยคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ได้มาตั้งสํานักเผยแพร่อยู่ ณ เมือง นครศรีธรรมราช ได้รับความนับถืออย่างรวดเร็ว สันนิษฐานว่าพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์น่าจะเข้ามาสู่นครศรีธรรมราชเมื่อราว พ.ศ. ๑๘๐๐ พวกพระภิกษุไทยซึ่งได้ไปบวชแปลง ณ เมืองลังกากลับมาตั้งคณะที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อนแล้วชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกาตามมาช่วยกันสร้างพระมหาธาตุที่เมืองนครศรีธรรมราชแปลงเป็นรูปพระสถูปให้เป็นแบบลังกา และเมื่อเกียรติคุณของพระสงฆ์ลังกาวงศ์แพร่หลายขึ้นไปถึงกรุงสุโขทัยราชธานี พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงทรงเลื่อมใสโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ลังกาวงศ์ขึ้นไปตั้ง ณ กรุงสุโขทัย ลัทธิลังกาวงศ์จึงรุ่งเรืองในสยามแต่นั้นมา ความข้อนี้ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. ๑๘๒๐ ความว่า“พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบพระไตรปิฎก หัวก๊กกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกตนลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราชมา” พ่อขุนรามคำแหงยังทรงโปรดให้สร้าง “วัดป่ามะม่วง” ในบริเวณที่เงียบสงบเหมาะแก่การเจริญภาวนาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอันเป็นกิจของสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี และเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช พร้อมโปรดให้เป็นที่แสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาจัดให้เป็นที่ว่าราชการงานเมืองแก่ข้าราชบริพาร นอกจากนี้พระมหาธรรมราชาลิไทกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ต่อมาได้ทรงนิมนต์พระมหาสามีสังฆราช จากเมืองพัน มาจำพรรษาที่วัดป่ามะม่วง เพื่อทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในการทรงผนวชของพระองค์ โดยพระมหาธรรมราชาลิไททรงจำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๕ พญาลิไทได้ทรงพระราชพระองค์ยังทรงนิพนธ์เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง อันเป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภพภูมิของพระพุทธศาสนาและกรรมที่พาสัตว์ให้ไปปฏิสนธิยังภพภูมิต่าง ๆ นอกจากนี้วัดป่ามะม่วงยังมีพระพิมพ์บรรจุเอาไว้ เรียกขานกันว่า หลวงพ่อโตะลักษณะเป็นพระเนื้อดินศิลปะสุโขทัย มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด เนื้อมวลสารมีส่วนผสมของเนื้อว่าน เป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงมากอย่างหนึ่ง

             จากการที่อาณาจักรสุโขทัยประกาศตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรขอม อาณาจักรสุโขทัยได้รับเอาพระพุทธศาสนาเถรวาทจากลังกาเข้ามาด้วยซึ่งเรียกว่าเถรวาทแบบลังกาวงศ์และเลิกนับถือพุทธศาสนามหายานแบบขอมที่เคยเจริญรุ่งเรืองในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อย่างไรก็ตามแม้สุโขทัยจะไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานแล้วก็ตามแต่ยังมีคณะสงฆ์ที่สืบมาจากลพบุรีที่เป็นภิกษุฝ่ายมหายานหลงเหลืออยู่ด้วย   หรือพระภิกษุที่ยังคงแนวคิดของมหายานเอาไว้ สันนิษฐานว่าพระสงฆ์กลุ่มนี้เองที่เป็นผู้สร้างพระพิมพ์จำนวนมากแล้วบรรจุไว้ในพระเจดีย์แถบเมืองกำแพงเพชร และยังปรากฏลานเงินบ่งบอกถึงอานุภาพและอาราธนาวิธีโดยประการต่าง ๆ  อีกทั้งพระพิมพ์บางชนิดเป็นพระพิมพ์ที่อาศัยความเชื่อแบบมหายานโดยตรงเช่น พระร่วงหลังรางปืน พระพิมพ์ตรีกาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อฤาษีพิมพิลาไลยเป็นผู้ช่วยสร้างพระพิมพ์เหล่านี้   ซึ่งฤาษีเหล่านี้น่าจะเป็นกลุ่มภิกษุมหายานที่อาศัยอยู่ตามถ้ำในป่าเนื่องจากผู้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนามหายานดังนั้นพระภิกษุในนิกายมหายานจึงต้องออกจากพระอารามซึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นอารามของพระภิกษุเถรวาทและในภายหลังอาจจะสึกแล้วบวชเป็นนักบวชประเภทหนึ่ง อย่างไรก็ตามคำว่าฤาษีที่ปรากฏในลานเงิน ลานทองและจารึกต่าง ๆ นั้นน่าจะเป็นนักบวชแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่พวกโยคีของศาสนาพราหมณ์แต่อย่างใด

About the Author

Share:
Tags: กองทุนสื่อ / กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ / ผลงานผู้รับทุนกองทุนสื่อ / พุทธธรรม / พุทธศิลป์ / พุทธคุณ / พระเครื่อง / ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี / ผลงานผู้รับทุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ / พระพิมพ์ / นครศรีธรรมราช /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ