Friday, January 24, 2025
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

หมู่บ้านอีสาน ความรู้ที่ปลูกผ่าน สถาปัตยกรรม

เรือนนางเผอะ
เรือนครูแห่งเรือนโคราช

เรือนนางเผอะนั้นเดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลพลกรัง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ จึงได้รับการยกย่องให้เป็นเหมือนเรือนครูในการเรียนรู้เรื่องเรือนโคราชมาเป็นเวลานานก่อนที่จะย้ายมาอยู่ภายในจิม ทอมป์สัน ฟาร์ม นอกจากนี้ยังนับเป็นเรือนโคราชที่สมบูรณ์และคงสภาพเดิมได้มากที่สุดหลังหนึ่งในจำนวนเพียงไม่กี่หลังที่เหลืออยู่ โดยมีเจ้าของเรือนคนสุดท้ายคือนางเผอะ เพ็งพลกรัง

ความโดดเด่นของเรือนนางเผอะนับเป็นมรดกความรู้ที่ส่งต่อมาให้เห็นถึงในยุคปัจจุบัน ดังที่กล่าวว่าเรือนโคราชนั้นไม่ใช่เรือนไทยภาคกลางและไม่ใช่เฮือนอีสาน แต่ได้รับอิทธิพลมาจากทั้งสองภาคจนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเรือน

“เรือนนางเผอะ” สามารถแบ่งรูปแบบการสร้างได้ออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงแรกคือส่วนของเรือนนอนและเกยที่ได้รับอิทธิพลมาจากเรือนไทยภาคกลาง มีลักษณะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง หลังคามีองศาที่ชันรูปร่างคล้ายจอมแหมีระบบการก่อสร้างเป็นแบบ

หอกลอง
สิมกลางน้ำ ในบรรยากาศยามเย็น

ถอดประกอบ เสาเรือนเป็นเสากลม ยอดเสามีหัวเทียน ฝาบ้านคล้ายฝาปะกนแต่ทำเป็นเพียงลวดลายไม่ได้เกิดจากการเข้าไม้ มีการลดระดับของแต่ละส่วนมากกว่า ๔๐ เซนติเมตรจนเกิดช่องว่างที่เรียกว่าช่องแมวลอด ประตูหน้าต่างยึดด้วยสลักเดือย การปลูกเรือนจะวางสันของหลังคาตามร่องตะวัน (หันหน้าจั่วไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก) ส่วนในช่วงที่ ๒ ซึ่งมีการต่อเติมเรือนโข่งต่อออกมาจากเกยของเรือนนอนจะได้รับอิทธิพลมาจากเฮือนอีสานที่มีการปรับลดองศาของหลังคาลงมาเหลืออยู่ที่ ๔๐ องศา ฝาตีแนวนอน แต่ยังคงเป็นระบบถอดประกอบได้เช่นกัน

ด้วยรายละเอียดที่ซับซ้อนของเรือนการเตรียมการรื้อถอนก่อนย้ายมาตั้งไว้ที่ฟาร์มจึงต้องทำรายละเอียดของทุกส่วนประกอบไว้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นเรือนถอดประกอบเช่นเดียวกับเรือนโคราชหลังอื่น การรื้อเฮือนนางเผอะใช้เวลาเพียง ๒-๓ วันก็จริงแต่กลับใช้เวลาในสร้างคืนนานกว่า ๓-๔ เดือนโดยมีการเพิ่มฐานรากเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กให้เสาเรือนทุกต้น นอกจากนั้นยังปรับเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากสังกะสีเป็นแป้นไม้ที่มีสีใกล้เคียงกับสีของตัวเรือน ส่วนไม้ต่างๆ ของเรือนจะถูกทำความสะอาดและทารักษาเนื้อไม้เพื่อให้ผิวและสีของไม้ยังคงสภาพเดิมให้มากที่สุด

หอไตรกลางน้ำ หนึ่งในศาสนาคารที่เพิ่มเติมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านอีสาน

เติมความรู้ ลงรายละเอียด

ปัจจุบันทั้งหมู่บ้านอีสานและหมู่บ้านโคราชขยายพื้นที่ออกไปเป็น ๕๐ ไร่ มีเรือนที่รวบรวมไว้ทั้งหมด ๑๖ เรือน รวมถึงสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวอีสานในสมัยก่อนและศาสนาคารที่จำลองมาได้อย่างงดงาม

“อีกกลุ่มเรือนหนึ่งที่เราเพิ่งได้มาคือกลุ่มเรือนไทยยวน จำนวน ๒ หลัง ซึ่งย้ายมาจาก อำเภอสีคิ้ว คนใน แถบ นั้นเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากทางล้านนา โยนกทำให้เรือนที่สร้างพักอาศัยเป็นลักษณะของเรือนภาคเหนือ เมื่อมาตั้งอยู่ในอีสานจึงค่อยๆ ปรับตามสภาพภูมิอากาศไป เช่นการปรับทิศตั้งตัวเรือน แต่เดิมเมื่ออาศัยอยู่ภาคเหนือ ตัวเรือนจะตั้งขวางตะวันเพื่อให้รับแสงแดดได้มากเนื่องจากมีสภาพอากาศหนาวเย็นกว่า ครั้นเมื่อมาตั้งอยู่ในอีสานซึ่งมีอากาศร้อน จึงปรับเป็นตั้งเรือนตามตะวันเพื่อรับลม” อาจารย์พหลไชยกล่าว

ในส่วนของศาสนาคารที่ได้เพิ่มเติมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านอีสาน เช่นหอไตร หอแจก (ศาลาการเปรียญในภาคกลาง) และสิมกลางน้ำ อาจารย์พหลไชยต้องตระเวนเสาะหาต้นฉบับที่ของศาสนาคารที่งดงามจากทั่วภาคอีสาน ไล่ลงไปจนถึงสะหวันนะเขตของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อนำสัดส่วนต่างๆ มาปรับใช้ให้ลงตัวที่สุด “ตอนที่ดีไซน์สิมกลางน้ำเราต้องนำสิมบกมาปรับเปลี่ยน เนื่องจากปัจจุบันสิมกลางน้ำสวยๆ แทบไม่มีเหลืออยู่แล้ว แต่หอไตรกลางน้ำยังพอมีให้เห็นบ้างสิมน้ำที่สร้างใหม่ในฟาร์มใช้ขนาดสัดส่วนของสิมบก วัดกลางโคกค้อ บ้านโคกค้อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้นแบบในการก่อสร้าง แต่เปลี่ยนวัสดุให้เป็นไม้ทั้งหมดจากของเดิมที่เป็นปูน”

เรียกได้ว่าการจำลองหมู่บ้านอีสานที่ใช้เวลากว่า ๑๐ ปีในการรวบรวมนั้นทำได้อย่างงดงามและสมบูรณ์ การรวบรวมเรือนโบราณมารวมไว้ในที่เดียวกันและซ่อมแซมบูรณะให้ยังคงสภาพของเดิมคือหนึ่งในเสน่ห์ของหมู่บ้านอีสาน และยังเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของชนรุ่นหลัง “เดิมเวลามีการดูงานด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน เราต้อง

ตระเวนเดินทางไปหลายที่จึงจะเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้ครบ แต่ปัจจุบันสามารถมาดูได้ในที่เดียว เนื่องจากเราพยายามรวบรวมเรือนต่างๆ ที่มีความหลากหลายและต่างช่วงเวลามารวมไว้ในที่เดียว โดยเฉพาะเรือนนางเผอะที่นับเป็นเรือนครูในการศึกษาเรือนโคราช และเรือนนางเอื้อย นอกจากนี้เรายังพยายามจำลองสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านและวิถีชีวิตที่อยู่ในนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา”

อย่างไรก็ตาม อาจารย์พหลไชยกล่าวว่าทั้งการอนุรักษ์และการเป็นแหล่งความรู้ก็ยังมีขอบเขตในการทำงานเนื่องจากเป็นการดำเนินงานซึ่งควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ หากเป็นช่วงของการจัดฟาร์มทัวร์ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูหนาว เรือนบางหลังที่มีอายุมากอาจต้องสงวนไว้ให้ชมแค่ภายนอกเนื่องจากปริมาณของนักท่องเที่ยวที่ไม่อาจควบคุม ส่วนรายละเอียดบางอย่างที่แสดงให้

เฮือนโข่ง

เฮือนอีสาน
ลักษณะใหญ่ๆ ของเฮือนอีสานคือ เรือนที่สร้างด้วยไม้ ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว เรือนขนาดใหญ่ของบ้านเรียก เฮือนเกย ประกอบด้วยชานมีหลังคา บางครอบครัวอาจมีการต่อเติมเรือนหลังเล็กเพิ่มขึ้นเคียงตามแนวยาวเรียกว่า เฮือนโข่ง คือเรือนขนาดกลางและขนาดเล็ก โครงสร้างแยกจากเรือนใหญ่หรือเรือนน้อย มีรูปร่างคล้ายเฮือนโข่ง แต่มีโครงสร้างร่วมกับเรือนใหญ่ มีการแยกประโยชน์ใช้สอยเป็นห้องนอนโดยเฉพาะของพ่อแม่และลูกสาวแยกจากกัน และที่เด่นชัดที่สุดคือ มีการยกหิ้งเปิงขึ้นไว้ในห้องเปิงอีกห้องหนึ่ง ซึ่งเป็นห้องความเชื่อเรื่องผีบรรพชนโดยเฉพาะ ทุกเรือนมีลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ แต่ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างมักทำหน้าต่างเป็นช่องแคบๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่องออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดจัดและอากาศเย็นจัดจึงต้องทำเรือนให้ทึบและกันลมได้ หลังคาเรือนทำเป็นทรง รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือนไทยภาคกลาง ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่อาจใช้สอยได้อีก เช่น กั้นเป็นคอกวัวควาย ฯลฯ

เรือนนายแช่ม

เรือนโคราช
จากการศึกษาของอาจารย์กาญจนา ตันสุวรรณรัตน์ เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น : กรณีศึกษาเรือนโคราช จังหวัดนครราชสีมา ระบุว่า ลักษณะสำคัญของเรือนโคราชเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูงใต้ถุนโล่ง หลังคาจั่วทรงสูงประมาณ ๔๐องศา โครงสร้างระบบเสาคานโดยใช้เสากลม มีกรรมวิธีก่อสร้างโดยใช้ระบบสำเร็จรูปในการเจาะ บวก เข้าสลักลิ่มและเดือยในสมัยแรกๆ ต่อมาจึงนำตะปูมาใช้ร่วมกับการเจาะบวกแบบเดิมด้วยสภาพภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ของโคราชทำให้หนาวจัดในช่วงฤดูหนาวและร้อนจัดในฤดูร้อนทำให้เรือนโคราชจะหันหน้าเรือนไปทางทิศเหนือ เจาะช่องหน้าต่างทางทิศใต้รับลม โดยเจาะจงแผงฝาละ ๑ ช่อง มีขนาดเล็กประมาณ ๔๐ ซม. สูง ๗๘ ซม. เท่านั้น ตัวเรือนเดิมแบ่งพื้นที่เป็น ๔ ส่วนคือ เรือนนอนหรือในเรือน เป็นระดับสูงสุด ถัดลงมาเป็นส่วนหน้าเรือนนอนเรียกว่าระเบียง หรือพักบน มีหลังคาคลุม ส่วนที่ ๓ คือ นอกซาน เป็นส่วนที่ต่ำสุด ไม่มีหลังคาคลุม เชื่อมกับส่วนที่ ๔ คือ ครัว ส่วนใต้ถุนเรือนเป็นโถงอเนกประสงค์ที่บ่งบอกอาชีพของเจ้าของเรือน

ลักษณะของฝาเรือนภายในเรือนโคราช ผนังด้านซ้ายคือฝาปรือ ที่ได้จากต้นปรือ

เห็นถึงวิถีชีวิตจริงๆ เช่น การปลูกผักสวนครัวการจัดวางอุปกรณ์ในการทำมาหากินแต่โบราณให้ชมก็ต้องระงับไว้ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการเข้าถึงของผู้ชมได้ แต่ก็นับว่าการเลือกตีโจทย์ที่นำอาคารและสิ่งก่อสร้างอันมีเอกลักษณ์ชัดเจนมารวบรวมไว้ให้ได้บรรยากาศแบบดั้งเดิมมากที่สุด เป็นแนวทางที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อการเริ่มต้นปลูกความรู้ตามเจตนารมณ์ได้อย่างครบถ้วน

“เราค่อยๆ ปรับและหาวิธีจัดแสดงให้ผู้เข้าชมได้เห็นถึงวิถีชีวิตจริง ขณะเดียวกันก็ยังคงพัฒนากิจกรรมอื่นๆ ระหว่างปีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเข้าชมในเชิงของการทัศนศึกษา หรือเป็นค่ายความรู้ต่างๆที่สามารถควบคุมดูแลได้ง่ายกว่า เพื่อให้สิ่งที่รวบรวมไว้นั้นเกิดประโยชน์ในการเรียนรู้อย่างแท้จริง” อาจารย์พหลไชยกล่าวทิ้งท้าย

About the Author

Share:
Tags: architecture / interior / ฉบับที่ 22 / หมู่บ้าน / จิม ทอมป์สัน / หมู่บ้านอีสาน / โคราช / นครราชสีมา / สถาปัตยกรรม / อีสาน /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ