Tuesday, November 12, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

แอนตาร์กติก การเดินทางสู่มรดกทางธรรมชาติผืนสุดท้าย

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 4
เรื่อง : สริตา อุรุพงศา
ภาพ : รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ และ รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์

แอนตาร์กติก

การเดินทางสู่มรดกทางธรรมชาติผืนสุดท้าย

เมื่อเรารู้อดีต ทราบถึงปัจจุบัน เราก็จะรับมือกับอนาคตได้

ปลายปี ๒๕๔๗ รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ คือนักวิจัยไทยคนแรกที่ได้ไปขั้วโลกใต้ หรือทวีปแอนตาร์กติก ด้วยการรับคัดเลือกจากสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พ.ศ. ๒๕๕๒ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ นักวิจัยหญิงคนแรกของไทย ที่ได้เดินทางไปทำการวิจัยเรื่องภาวะโลกร้อนที่ดินแดนขั้วโลกใต้ ร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกญี่ปุ่นที่ ๕๑ (JARE-51; 51th Japanese Antarctic Research Expedition)

พ.ศ.๒๕๕๖ รศ.ดร.สุชนา เดินทางไปขั้วโลกใต้อีกครั้งเพื่อทำการวิจัย “โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ณ สถานีวิจัยขั้วโลกใต้ เกรทวอลล์ ร่วมกับคณะนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

เรือตัดนํ้าแข็งขณะแล่นผ่านทะเลนํ้าแข็ง

ทวีปแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้เป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลกโดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยนํ้าแข็งยังนับเป็นดินแดนร้างแล้ง (desert) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นได้แก่ เพนกวิน แมวนํ้า และสาหร่าย และแม้พื้นที่ทวีปจะกว้างใหญ่เป็นอันดับ ๕ (รองจากทวีป เอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้) แต่กลับไม่มีมนุษย์ตั้งรกรากอยู่ถาวรมีเพียงสถานีวิจัยกระจายอยู่ทั่วทวีป และมีนักวิจัยมาเยือนราวๆ สี่พันคนต่อปี เพราะเป็นทวีปเข้าถึงยากทั้งมีระดับความสูงเฉลี่ยสูงที่สุดความชื้นเฉลี่ยและอุณหภูมิเฉลี่ยตํ่าที่สุดในโลก

ย้อนกลับไปเมื่อปี ๒๕๔๕ อาจารย์ทั้งสองได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมรากุมารี ในฐานะบุคลากรคนสำคัญแห่งวงการอนุรักษ์ปะการังไทย

ก้อนน้ำแข็งที่แตกมาจากธารน้ำแข็งใหญ่

สามประวัติศาสตร์ยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ไทย ที่เป็นดั่งปฐมบทของการเริ่มต้นวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับโลกเราในอนาคต ตลอดจนหาวิธีรับมือไปพร้อมๆ กัน ในยุคที่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หากแต่ถูกเร่งด้วยมนุษย์ คนไทยเรายังมีสองอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเหมือนผู้นำคนสำคัญของคน (อนุ) รักษ์ทะเล

เพราะมีคุณพ่อเป็นทหารเรือ ดร.วรณพ จึงได้ใช้ชีวิตบางช่วงที่ฐานทัพเรือสัตหีบ ครั้งเมื่อได้ทุน กพ. ไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลาย จึงเลือกเรียนด้านประมง จนจบระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่มหาวิทยาลัยประมงโตเกียว และเน้นทำงานในการวิจัยเรื่องการจัดการชายฝั่งเรื่อยมา

ในขณะที่ ดร.สุชนา นั้น ตอนเด็กๆ เป็นนักกีฬาว่ายน้ำ ปิดเทอมเมื่อไร ทางครอบครัวจะเดินทางไปพักผ่อนที่บ้านริมทะเล ทำให้ผูกพันและก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ลงเรียนด้านทะเล จนจบปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาโทและปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา สาขาการอนุรักษ์ทางทะเล ทั้งยังเป็นครูสอนดำน้ำให้แก่ผู้สนใจเรียนรู้แบบไม่เก็บค่าใช้จ่าย

แมวน้ำขณะนอนพักผ่อนอยู่บนก้อนน้ำแข็ง
ฝูงอเดลีเพนกวิน

จุดเริ่มต้นการเดินทางสายอนุรักษ์ของเขา
ย้อนกลับไปเมื่อปี ๒๕๔๕ อาจารย์ทั้งสองได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในฐานะบุคลากรคนสำคัญแห่งวงการอนุรักษ์ปะการังไทยด้วยการเพาะพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศ (คือการเก็บสเปิร์มกับไข่

ข้อเท็จจริงในเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนผันต่อขั้วโลกเหนือ-ขั้วโลกใต้ทวีปแอนตาร์กติก มีภาวะปกติคือภาวะที่เป็นทะเลนํ้าแข็ง (Sea Ice) ฤดูหนาวจะถูกปกคลุมด้วยแผ่นนํ้าแข็งแอนตาร์กติกา คลุมทะเลอยู่หนา ๒ – ๓ เมตรพอฤดูร้อน นํ้าแข็งจะละลายเป็นไปตามวัฏจักรปัจจุบัน สถานการณ์ทางฝั่งตะวันออกค่อนข้างจะปกติ แต่ทางตะวันตก ทางใต้ของอเมริกานั้น มีปัญหาเรื่องการละลายมากขึ้นเรื่อยๆ หากเปรียบกับทางอาร์กติก หรือขั้วโลกเหนือ ที่เป็นเพียงทะเลเฉยๆ ไม่มีทวีป ในฤดูหนาวนํ้าแข็งก็จะก่อตัวเพิ่มขึ้นตามปกติแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ภาวะโลกร้อน นั้นคือปัจจัยที่ทำให้นํ้าแข็งบางลงเรื่อยๆ ครั้นพอสร้างขึ้นได้มากเท่าไรในหน้าหนาว พอเข้าหน้าร้อน นํ้าแข็งกลับยิ่งละลายบางลงเร็วขึ้น ตามภาวะสภาพการแปรผันต่อภาวะโลกร้อนซึ่งเห็นได้ชัดเจนที่ขั้วโลกเหนือ

ดร. วรณพ ขณะกำ ลังสวมชุดดำ น้ำแบบแห้งเพื่อเตรียมลงดำน้ำ
ดร. สุชนา กับรถสโนว์โมบิวที่ใช้ขณะทำงานบนทะเลน้ำแข็ง
เรือยางของประเทศเกาหลีใต้ที่ใช้ในการเดินทางในระยะใกล้ๆ

“เขากลัวเรา ว่าที่อยากจะเข้าไป เพราะอยากได้ผลประโยชน์ตรงนี้หรือเปล่าเพราะเริ่มมีหลายๆ ชาติ ที่อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในภาคีนี้ ทางไทยจึงพยายามอธิบายให้เข้าใจว่า เราเข้าไปเพราะเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ทั้งต้องการศึกษาอยากได้ประสบการณ์ รวมทั้งกระตุ้นวงการวิทยาศาสตร์ไทย ซึ่งในที่สุดทางเขาก็เข้าใจ”

ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังมาเพาะ) เป็นวิธีที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ปัจจุบันทั้งคู่ถ่ายทอดวิธีการให้นักอนุรักษ์รุ่นหลัง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้สืบต่อการอนุรักษ์เรื่อยมา

เมื่อสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีโครงการที่จะส่งนักวิจัยไทยหนึ่งคนไปขั้วโลกใต้ ที่สถาบันวิจัยขั้วโลกของประเทศญี่ปุ่น เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนไทยหันมาสนใจในวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น ดร.วรณพ คือหนึ่งในผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ “คณะกรรมการบอกว่าที่ผมได้ เป็นเพราะเสนอโครงการวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์มากที่สุด ในขณะที่ข้อเสนอของคนอื่นเป็นไปในแนวการไปเพื่อผจญภัย ไปท้าทายกันซะมากกว่า” เมื่อประกอบกับคุณสมบัติที่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ดีเยี่ยม และมุ่งมั่นตั้งใจ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ดร.วรณพ จะเป็นตัวแทนคนไทยหนึ่งเดียวไปสถานีวิจัยโชวะของญี่ปุ่น ตัวแทนมีภารกิจหลักคือ วิจัยและทำงานอยู่บนแผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ร่วมกับคณะนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเป็นเวลากว่าสี่เดือนตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๗

“ก่อนไปผมมีเวลาเตรียมตัวเกือบปี ทางญี่ปุ่นส่งรายการเตรียมตัวให้เรา มีเทรนนิ่งใหญ่หลายครั้ง ต้องไปอยู่ยอดเขาเหนือระดับน้ำทะเลสองพันกว่าเมตร หัดเดินด้วยสกี ให้เราได้เตรียมร่างกาย ได้พบเจอและแจกจ่ายงานกันระหว่างนักวิทยาศาสตรท์ได้รับการคัดเลือกการไปขั้วโลกใต้ครั้งนี้ ดร.วรณพ เป็นชาวต่างชาติเพียงคนเดียวในกลุ่ม

แต่การเดินทางครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ไม่ได้เริ่มต้นอย่างราบรื่นสักเท่าไร ก่อนการเดินทางก็เกิดประเด็นจากทางญี่ปุ่น ที่ข้องใจถึงการเข้าร่วมของคนไทย “ทำไมคนไทยถึงอยากไปแอนตาร์กติกกันแน่?” นี่คือคำถามที่ทางญี่ปุ่นเปิดประเด็น ถามถึงความตั้งใจจริงของเราในการส่งนักวิจัยไทยเข้าร่วม เนื่องจากการไปวิจัยที่ขั้วโลกใต้จะอยู่ภายใต้สนธิสัญญาว่าด้วยทวีปแอนตาร์กติก ที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองการแสวงหาประโยชน์จากขั้วโลกใต้โดยไม่ชอบธรรม ประจวบเหมาะกับที่สัญญากำลังจะครบกำหนดห้าสิบปี และมีแนวโน้มว่า หากสัญญาเปลี่ยน ประเทศผู้มีรายชื่อในนั้นก็จะเปลี่ยนไปด้วย จึงทำให้เกิดคำถามด้วยเหตุที่แอนตาร์กติกเป็นทวีปที่มีแหล่งทรัพยากรอุดมสมบูรณ์

ดร. สุชนา กับนักดำนน้ำชาวเกาหลีใต้

ฝังอยู่ใต้ทะเลและน้ําแข็งมูลค่ามหาศาล “เขากลัวเราว่าที่อยากจะเข้าไป เพราะอยากได้ผลประโยชน์ตรงนี้หรือเปล่า เพราะเริ่มมีหลายๆ ชาติที่อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในภาคนี้ ทางไทยจึงพยายามอธิบาย ให้เข้าใจว่า เราเข้าไปเพราะเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ทั้งต้องการ ศึกษา อยากได้ประสบการณ์ รวมทั้งกระตุ้นวงการวิทยาศาสตร์ไทย ซึ่งในที่สุดทางเขาก็เข้าใจ” ดร.วรณพ ย้อนเล่าถึงความหลัง ในปัจจุบัน ประเทศมาเลเซีย เพิ่งเข้าร่วมเป็นหนึ่งในประเทศภาคี และเป็นประเทศ ที่ห้าของเอเชีย ที่จะมีสถานีวิจัยประจําขั้วโลกใต้เป็นของตัวเอง ตามหลังสี่ประเทศอย่าง ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และอินเดีย โดยไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม คือสามประเทศที่ยังคงต่อคิวรออยู่

เมื่อเข้าใกล้แผ่นดินสุดท้าย ที่ยังเป็นธรรมชาติ
๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. คือตารางการทํางานของ ดร.วรณพ ตลอดสี่เดือน ที่แอนตาร์กติก นอกเหนือจากงานหลักคือ ศึกษาสิ่งมีชีวิตและระบบ นิเวศวิทยาในทะเล ณ ขั้วโลกใต้ สํารวจเรื่องการปรับตัว และการ พยายามรักษาระบบของตนเองแล้ว เขาต้องช่วยสนับสนุนงานวิจัย ของเพื่อนๆ นักวิจัย และอีกภารกิจที่สําคัญคือ ทีมของเขากว่า ๔๐ คน ต้องก่อสร้างบ้าน และเตรียมการทุกอย่างให้พร้อม เพื่อให้อีกทีมวิจัย ได้อยู่ในคาบฤดูหนาวต่อได้อีกแปดเดือน

About the Author

Share:
Tags: รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ / รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ / travel / เที่ยว / ท่องเที่ยว / ฉบับที่ 4 / แอนตาร์กติก /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ