การทำงานที่สถานี และโดยรอบสถานีวิจัยโชวะเป็นเวลาสองเดือนนั้น พ่วงมาด้วยตารางที่หนักและแน่น บางวันต้องเดินทางไกล ๘ ชั่วโมงไม่หยุดพัก ทั้งการลงเรือตัดน้ำแข็ง ที่เมื่ออากาศแปรปรวน หน้าเรือจะทะยานขึ้นด้วยแรงกระทบจากคลื่นสูงร่วม ๓๐ เมตร ทั้งยังประสบอุบัติเหตุระหว่างเดินบนน้ำแข็งด้วย
ดร.วรณพ เล่าว่า ตลอดการทำงานที่แอนตาร์กติก สภาพอากาศแปรปรวน ช่วงแรกนั้นฤดูร้อน ได้แสงแดดมาช่วยคลายหนาว อากาศดีทำงานได้ทุกวัน จนกระทั่งช่วงสองอาทิตย์สุดท้าย อากาศหนาวติดลบบางช่วงลมพัดแรง บางช่วงมีหิมะน้ำแข็งตก ทำงานกลางแจ้งไม่ได้เลยเฮลิคอปเตอร์ก็ออกบินไม่ได้ แต่ในระหว่างอุปสรรคมีความงดงามเสมอดร.วรณพ พบสิ่งหนึ่งที่ประทับใจและอยากนำมาปรับใช้กับบ้านเรา“ผมประทับใจการทำงานของชาวญี่ปุ่น ความทุ่มเทและมีวินัยเขาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมองว่าผู้หญิงผู้ชายเท่าเทียมกัน ทุกคนทำงานเท่ากัน ทุกคนคือนักวิทยาศาสตร์ที่มาเพื่อรับผิดชอบงานตัวเองและต้องอุทิศเวลาให้แก่ส่วนรวม”
เมื่อเธอเดินทางสู่ดินแดนน้ำแข็ง
นับจากโครงการส่งนักวิจัยไทยไปแอนตาร์กติก จนกระทั่งห้าปีถัดมาเมื่อปี ๒๕๕๒ ทางญี่ปุ่นต่อเรือตัดน้ำแข็งลำใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจึงเชิญนักวิจัยจากประเทศรอบข้าง รวมไปถึงประเทศไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย ให้เข้าร่วมโครงการด้วย ดร.สุชนา คือนักวิจัยไทยคนที่สอง ที่ได้รับการคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๘๕ นักวิทยาศาสตร์ ของคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกญี่ปุ่นรุ่นที่ ๕๑ โดยการวิจัยของเธอ เน้นการศึกษาผลกระทบของสภาวะโลกร้อนต่อสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ เก็บตัวอย่างทรัพยากร เช่น ปลา และดินตะกอนจากแอนตาร์กติก เพื่อมาศึกษาต่อรวมทั้งเก็บตัวอย่างและปัจจัยต่างๆ ทางเคมีของน้ำระหว่างเดินทาง
การทำงานที่สถานี และโดยรอบสถานีวิจัยโชวะเป็นเวลาสองเดือนนั้นพ่วงมาด้วยตารางที่หนักและแน่น บางวันต้องเดินทางไกล ๘ ชั่วโมงไม่หยุดพัก ทั้งการลงเรือตัดน้ำแข็ง ที่เมื่ออากาศแปรปรวน หน้าเรือจะทะยานขึ้นด้วยแรงกระทบจากคลื่นสูงร่วม ๓๐ เมตร ทั้งยังประสบอุบัติเหตุระหว่างเดินบนน้ำแข็งด้วย “การเดินบนทะเลน้ำแข็งต้องระมัดระวัง เลี่ยงเดินบนน้ำแข็งที่อ่อน ซึ่งนักวิจัยจะมีไม้สำหรับเดินใช้กดคลำทางดูก่อน พอดีจังหวะนั้นเท้าเคลื่อนออกจากจุดที่ปักไม้นิดเดียว ขาเลยตกลงไปหนึ่งขา ตอนนั้นลมแรง ทำให้เรียกเพื่อนเท่าไรก็ไม่ได้ยิน พยายามตั้งสติเอาตัวเองขึ้นมาอยู่ราวๆ ๕ นาทีถึงเดินต่อไปได้”
เมื่อไถ่ถามถึงสิ่งที่ประทับใจที่สุด ณ ขั้วโลกใต้ นอกจากประสบการณ์แปลกใหม่ที่พบเจอในแต่ละวันแล้ว ดร.สุชนา นึกถึงสองสิ่งที่ชื่นชอบ “อากาศที่แอนตาร์กติกบริสุทธิ์มาก ฉะนั้นต่อให้หนาวเพียงใด ก็ไม่มีใครในทีมเป็นหวัดเลย” และอีกสิ่งที่เธอโปรดปรานคือ เพนกวิน สิ่งมีชีวิตที่อยากรู้อยากเห็น และชอบมามองมายืนใกล้ๆ คณะนักวิจัยตลอดเวลาการทำงาน
ครั้นเมื่อกลับจากขั้วโลกใต้ ดร.สุชนา ลงมือเขียนหนังสือ “แอนตาร์กติก… ดินแดนแห่งน้ำแข็ง” ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระอักษรและเล็งเห็นประโยชน์นานาประการที่ประเทศไทยจะได้รับ จากการเดินทางไปศึกษาวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก สืบเนื่องจากที่ท่านมีความสัมพันธ์อันดีกับทางสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงมีการทำข้อตกลงระหว่างกัน ทำให้ได้มาซึ่งโควตานักวิจัยจากประเทศไทย เดินทางไปร่วมวิจัยที่สถานีวิจัยขั้วโลกใต้ของจีนปีละสองคน โดยเป็นโครงการต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา ๕ ปี
ขั้วโลกใต้ครั้งที่สองของ ดร.สุชนา จึงเกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเข้าร่วมกับคณะนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่สถานีวิจัยขั้วโลกใต้เกรทวอลล์ เป็นระยะเวลาหกสัปดาห์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อสัตว์บริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นงานวิจัยต่อเนื่อง จากการเดินทางไปขั้วโลกใต้เพื่อเก็บตัวอย่างครั้งก่อนของ ดร.วรณพ และในทริปนี้เอง ที่ความใฝ่ฝันของ ดร. สุชนา เป็นจริง เพราะเธออยากจะดำน้ำลงไปสำรวจสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลน้ำแข็งสักครั้งในชีวิต และการดำน้ำทำให้ชื่อ ดร.สุชนา พ่วงตำแหน่งคนแรก ของการดำน้ำลึกใต้ทะเลน้ำแข็ง ณ สถานีวิจัยของจีน ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส
บอกเล่าความจริงผ่านความงามของดินแดนทะเลน้ำแข็ง
“มนุษย์คือสิ่งแปลกปลอมในสายตาสิ่งมีชีวิตที่ขั้วโลกใต้” ดร.สุชนาเล่าถึงประสบการณ์ของการก้าวย่างไปบนดินแดนอัศจรรย์ ที่ที่ยังคงไว้
สิ่งที่คนไทยควรปรับความคิดใหม่คือ ต้องเข้าใจว่า ธรรมชาติสร้างไม่ได้ เมื่อรุกรานธรรมชาติมานาน เราก็เปลี่ยนเป็นคำพูดใหม่แบบสวยหรูว่า ‘เราสร้างสิ่งแวดล้อมได้’ ทั้งที่ความจริง สิ่งแวดล้อมก็ไม่ใช่ธรรมชาติ เราควรจะตระหนักว่า อนาคตยังอยู่อีกไกลเมื่อไรที่ยังมองไม่เห็น ยังไม่ให้ความสำคัญ แน่นอนว่า มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลง วงจรก็จะถูกเร่งขึ้น ในขณะที่เราปรับตัวไม่ทันมนุษย์นี่แหละจะโดนหนักสุด
ซึ่งธรรมชาติ “พวกสัตว์ที่เจอเขาไม่ได้ตกใจ ไม่ได้กลัวเราเลย ทั้งที่เรามีอุปกรณ์ชิ้นใหญ่ มีเรือ มีชุดหนาพรางตัวกันอากาศหนาว พวกเขากลับสงสัยว่า เราไปทำอะไรที่ตรงนั้น วิถีตามธรรมชาติของเขา คือสิ่งที่มาตอกยํ้าความคิด ที่มนุษย์คิดกันไปเองว่า ‘เราใหญ่กว่าใคร’ นั้นมันผิด เราต้องยอมรับให้ได้ว่า เราเป็นแค่ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ส่วนใหญ่”
“สิ่งที่คนไทยควรปรับความคิดใหม่คือ ต้องเข้าใจว่า ธรรมชาติสร้างไม่ได้ เมื่อรุกรานธรรมชาติมานาน เราก็เปลี่ยนเป็นคำพูดใหม่แบบสวยหรูว่า ‘เราสร้างสิ่งแวดล้อมได้’ ทั้งที่ความจริง สิ่งแวดล้อมก็ไม่ใช่ธรรมชาติ เราควรจะตระหนักว่า อนาคตยังอยู่อีกไกล เมื่อไรที่ยังมองไม่เห็น ยังไม่ให้ความสำคัญ แน่นอนว่า มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงวงจรก็จะถูกเร่งขึ้น ในขณะที่เราปรับตัวไม่ทัน มนุษย์นี่แหละจะโดนหนักสุด แต่ถ้ามันเปลี่ยนไปแล้ว เราปรับตัวได้ อยู่ร่วมกันได้ เราก็จะรอดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ มันก็ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติจริงๆ มันถูกเร่งด้วยมนุษย์ทั้งนั้น รู้ไหมว่า จากที่ภาวะโลกร้อนควรจะเกิดขึ้นอีกหลายร้อยปี ตอนนี้เราไปเร่งมันให้เร็วขึ้นเป็นพันเท่าได้” ดร.วรณพ เสริมต่อ
ในโลกทุนนิยม ที่งบประมาณด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาตินั้นมีน้อยเหลือเกิน สำหรับการขับเคลื่อนความรู้ ความเข้าใจสู่บุคคลทั่วไป เมื่อเราให้ความสำคัญกับคำว่า “อนุรักษ์” เพียงเบาบางและเมื่อชั้นนํ้าแข็งบนผืนทวีปที่หนาเกือบ ๓ กิโลเมตรยังละลายได้เมื่อนั้น ประเทศเล็กๆ อย่างไทยจะกระเทือนอย่างไร?