Saturday, September 14, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

มรดกโลก อันดามัน

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 10
เรื่อง/ภาพ: นภันต์ เสวิกุล

คนไทยส่วนใหญ่ทราบกันดีว่าประเทศของเรามีพรมแดนทั้ง ๔ ทิศติดกับประเทศอะไรบ้างแต่ที่ทราบกันแบบ “เน้นๆ” (เพราะไม่ว่าใครก็ชอบเที่ยวทะเล) ก็คือ ชายขอบหรือชายฝั่งทะเลที่ยาวกว่า ๒,๐๐๐ กิโลเมตร ทั้งฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดตราดเรื่อยลงไปตลอดภาคใต้ฝั่งตะวันออกจนถึงนราธิวาส เฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่ติดกับทะเลอันดามัน อาจกล่าวได้ว่าแทบจะทุกตารางนิ้วของหาดทรายขาวยาวเหยียดสุดสายตาเกาะแก่งน้อยใหญ่ และผืนน้ำสีมรกต คือเสน่ห์สำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกที่ตั้งปรารถนาจะได้มาเยี่ยมเยือน อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่งในชีวิต และเมื่อได้มาเห็นก็พากันชื่นชมและประทับใจในความสวยงามมิรู้ลืม

ถึงขนาดนั้น อันดามันก็ยังมีสิ่งอื่นที่น่าภาคภูมิใจมากกว่าความสวยงามที่ปรากฏให้เห็น จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า แผ่นดินและสัณฐานทางธรณีวิทยาใต้ผืนน้ำอันล้ำลึกของอันดามันนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลากว่า ๒๐๐ ล้านปีมาแล้ว

จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ หลายเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อันดามันปรับตัวและมีวิวัฒนาการจนมีความแตกต่างจากเผ่าพันธุ์อย่างเห็นได้ชัด

ความหลากหลายของสรรพสิ่งของพืชพันธุ์และสัตว์ป่านานาชนิด ทั้งที่ประจำถิ่นและอพยพมาตามฤดูกาล ตลอดจนถึงโถงถ้ำใหญ่อันอลังการของภูเขาหินปูนหลายแห่งที่ปรากฏภาพเขียนสีเป็นหลักฐานว่าดินแดนแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของ “ชาวน้ำ” หลายเผ่าพันธุ์มาแต่อดีตที่ย้อนกาลเวลาไปนับพันปี

มรดกโลก อันดามัน

ด้วยความน่าสนใจยิ่งนี้ ทำให้นักวิชาการจากหลายหน่วยงานประสานมือกันค้นคว้ารวบรวมความโดดเด่นของอันดามันไว้ และยิ่งค้นคว้าลึกลงไปเท่าไร ก็ยิ่งพบว่าอันดามันเป็นความมหัศจรรย์ที่คนไทยและชาวโลกควรได้รับรู้ และที่สำคัญ ควรเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่จะบอกให้ชาวโลกทราบว่า เรามีของดีอันควรค่าแก่การรักษาไว้เป็นมรดกของชาติและของโลก

แต่การสงวนมรดกทางธรรมชาติเหล่านั้นให้คงสภาพไว้ได้นานที่สุดอาจเป็นสิ่งพ้นวิสัยที่จะดำเนินการได้โดยหน่วยงานหรือระดับองค์กรในประเทศ คณะทำงานดังกล่าวจึงตั้งเป้าหมายที่จะเสนอไปยังองค์กรระหว่างประเทศที่สามารถให้การสนับสนุนได้นั่นก็คือคณะกรรมการมรดกโลก

ทะเลอันดามันในเขตพื้นที่ของประเทศไทยได้รับการยกย่องว่ามีความสวยงามที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง และอาจกล่าวได้ว่าสามารถทำรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ยิ่งกว่าพื้นที่ใดๆ

การสงวนมรดกทางธรรมชาติเหล่านั้นให้คงสภาพไว้ได้นานที่สุดอาจเป็นสิ่งพ้นวิสัยที่จะดำเนินการได้โดยหน่วยงานหรือระดับองค์กรในประเทศคณะทำงานดังกล่าวจึงตั้งเป้าหมายที่จะเสนอไปยังองค์กรระหว่างประเทศที่สามารถให้การสนับสนุนได้ นั่นก็คือคณะกรรมการมรดกโลก

ที่จริงแล้ว ทรัพยากรทางธรรมชาติและแหล่งความสวยงามของประเทศเรานั้นเคยมีมากมายกว่านี้มากนัก หากแต่เพราะเราขาดการปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกให้รู้จักหวงแหน และสงวนรักษาทรัพยากรทรงคุณค่าเหล่านี้ เราจึงมักแต่บ่นเสียดายเมื่อสิ่งเหล่านั้นสูญหาย เสื่อมโทรม หรือสิ้นสภาพไปในที่สุด

ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการคุ้มครองและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และ ธรรมชาติที่โดดเด่นของมวลมนุษยชาติให้คงอยู่สืบต่อไป โดยได้กําหนดคุณสมบัติของสถานที่เหล่านั้นไว้ว่า

  • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสําคัญต่างๆ ในอดีตของโลก
  • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยาและปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กําลังเกิดอยู่
  • เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงาม

ซึ่งในประเทศไทยมีแหล่งที่ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกแล้วหลายแห่ง ประกอบด้วย

รายชื่อปี‚ที่ไดŒรับการประกาศประเภท
มรดกโลกสุโขทัย
ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร
2534วัฒนธรรม
เขตรักษาพันธุสัตว์
ป่†าทุ่งใหญ่ – ห้Œวยขาแข้ง
2534ธรรมชาติ
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง2535วัฒนธรรม
ป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่2548ธรรมชาติ
แหล่งปะการังน้ําลึก และกองหินปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติ ทางทะเลหมู่เกาะสิมิลัน เคยได้รับการยกย่องว่ามีความงดงามติดอันดับ ๗ ของโลก

อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ถูกกําหนดขึ้นจากความพยายามของนานาชาติเพื่อหยุดยั้งความสูญสลาย ความเสื่อมโทรมของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่ทรงคุณค่า ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เมื่อมองย้อนกลับมาใน “พื้นที่อนุรักษ์อันดามัน” ก็พบว่ามี ระบบนิเวศที่มีความหลากหลาย และมีความโดดเด่นระดับโลก หลายแบบในหลายพื้นที่ อาทิ

  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีความโดดเด่นในด้านระบบนิเวศปะการังน้ําตื้น
  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน มีความโดดเด่นในด้านนิเวศปะการังน้ําลึก
  • อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีความโดดเด่นในด้านระบบ นิเวศป่าชายเลน และภูมิประเทศเขาหินปูน (Karsts Topography)
  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา มีความโดดเด่น หลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง
  • ป่าชายเลน หาดโคลน เอสทูรีตอนบน ลําน้ํากระบุรี หมู่เกาะพยาม แหลมสน (สิมิลัน)
  • เกาะหินแกรนิต ปะการังน้ําตื้น (สุรินทร์) ปะการังน้ําลึก
  • ป่าชายหาด และหาดวางไข่ของเต่าทะเล (หาดท้ายเหมือง เกาะพระทอง)
  • ระบบนิเวศป่าชายเลน และเขาหินปูนลูกโดด – อุทยาน แห่งชาติอ่าวพังงา – อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี – เกาะพีพีเล หมู่เกาะทะเลลึก และกองหิน (อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา)
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาล้อมรอบด้วยภูเขาหินปูนที่สวยงามในรูปทรงและขนาดต่างๆ เป็นแหล่งภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่มีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ภาพเขียนสีผนังถ้ําที่ยังคง หลงเหลืออยู่เป็นจํานวนมาก ในถ้ําหินปูน บริเวณอ่าวพังงา และพื้นที่โดยรอบ บ่งบอกให้ ผู้คนรุ่นหลังทราบถึงการตั้งถิ่นฐาน การทํามาหากิน และ ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา

ชาวน้ํา หรือชาวเล เป็นชนเผ่าเร่ร่อนใช้ชีวิตตามเกาะแก่งในทะเลอันดามัน มีภาษาและศาสนาของตัวเอง เชื่อว่ามีวิญญาณในธรรมชาติและจักรวาล แบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ มอแกน มอเกล็น และอุรักลาโว้ย

ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

  • ในพื้นที่อนุรักษ์ทะเลอันดามัน (Andaman Sea Protected Area) เป็นแหล่งทับถมของอารยธรรมโบราณ นับเนื่อง ด้วยกาลเวลากว่า ๑,๐๐๐ ปี ภาพเขียนสีผนังถ้ําที่ยังคงหลงเหลือ อยู่เป็นจํานวนมาก ในถ้ําหินปูน บริเวณอ่าวพังงาและพื้นที่โดยรอบ บ่งบอกให้ผู้คนรุ่นหลังทราบถึงการตั้งถิ่นฐาน การทํามาหากิน และ ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา หรือการเดินทางค้าขายของพ่อค้า วาณิชชาวอินเดีย ที่เชื่อกันว่าบริเวณเกาะคอเขา เกาะพระทอง คือ เส้นทางสายไหมทางทะเลที่เชื่อมต่อการเดินทางค้าขายระหว่าง มหาสมุทรอินเดีย ทะเลอันดามัน ไปสู่อ่าวไทย
  • นอกจากนั้น ชาวน้ํา หรือชาวเลจํานวนถึง ๔ เผ่าพันธุ์ ยัง คงดําเนินชีวิตเช่นเดียวกับที่พวกเขาเคยเป็นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ในพื้นที่หลายแห่ง ตั้งแต่จังหวัดระนองไปจนถึงจังหวัดกระบี่

จึงถือได้ว่ามีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะเสนอเข้ารับการพิจารณาเข้าสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

ทุกวันนี้ อันดามันถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการที่ ทรงคุณค่าที่สุดอยู่แล้ว แต่ถ้ายิ่งได้รับการประกาศให้เป็นแหล่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ แน่นอนที่สุดว่า ความโดดเด่นของพื้นที่ แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน (Andaman Sea Protected Area) จะยิ่งเพิ่มคุณค่ากว่าเดิมขึ้นไปอีกหลายเท่า ทั้งยังเป็นเครื่องยืนยันได้อีกว่า ความงดงามเหล่านั้นจะมีความยั่งยืนตราบนาน เท่านาน

About the Author

Share:
Tags: สิ่งแวดล้อม / ทะเล / ปลา / สัตว์น้ำ / สัตว์ทะเล / ฉบับที่ 10 / Andaman / อันดามัน / ธรรมชาติ /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ