Sunday, October 6, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

เมื่อเรือหัวโทง ทะยานฟ้าอันดามัน

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 10
เรื่อง/ ภาพ : ธีรภาพ โลหิตกุล

เมื่อเรือหัวโทง
ทะยานฟ้าอันดามัน

ภาคพื้นอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคใน เขตอากาศร้อนชื้น ภูมิประเทศส่วนใหญ่เต็มไปด้วยแม่น้ําลําคลองกับอีกส่วนหนึ่งเป็นหมู่เกาะและชายฝั่งทะเล ชาวอุษาคเนย์จึงมี ลักษณะเป็น “ชาวสะเทินน้ําสะเทินบก” ที่มีความชํานาญการ ใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางและขนส่งสินค้ามาแต่โบราณกาล

เรือของชาวอุษาคเนย์มีรูปลักษณ์และขนาดที่หลากหลาย ตามแต่ภูมิประเทศและการใช้งาน ทว่า หากกล่าวถึง “เรือหัวโทง” เป็นที่ทราบกันดีว่าคือเอกลักษณ์เรือของชาวบ้านตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน แถบจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล ใช้ประโยชน์ได้ทั้งการทําประมงชายฝั่ง และเป็นเรือโดยสารสําหรับนักท่องเที่ยว

หัวโทงที่โค้งสูงจึงมีประโยชน์ช่วยให้เรือทรงตัวได้ดีแม้ ในยามที่ทะเลมีคลื่นแรง แม้บางครั้งหัวเรือจะผลุบๆ โผล่ๆ อยู่ในน้ํา แต่หัวโทงจะไม่จมหายไป ชาวประมงจึงใช้หัวโทงเป็น เสมือน “เข็มทิศ” หรือ “ธงนํา” ในการเล็งแนวที่จะนําเรือ เข้าสู่ฝั่ง หรือตรงไปยังจุดหมายปลายทางอย่างแม่นยํา ไม่ว่า จะต้องฝ่าพายุคลื่นลมแรงปานใดก็ตาม จึงมีข้อสันนิษฐานว่า ชื่อ “เรือหัวโทง” อาจจะมีที่มาจากคําว่า “เรือหัวธง” นั่นเอง

จุดเด่นคือส่วนที่เรียก “หัวโทง” หรือหัวเรือที่สูงและงอน ขึ้นมากกว่าเรือชนิดอื่น อันเป็นที่มาของชื่อ “เรือหัวโทง” ซึ่งมิใช่เพียงการออกแบบให้แตกต่างและดูเท่กว่าคนอื่นเท่านั้น แต่นับเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของชาวสะเทินน้ําสะเทินบกแห่งท้องทะเลอันดามัน ในการประดิษฐ์คิดสร้างพาหนะที่ เหมาะกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล และสภาพอากาศที่มีพายุฝนลมแรงหลายเดือนในแต่ละปี

หัวโทงที่โค้งสูงมีประโยชน์ช่วยให้เรือทรงตัว ได้ดีแม้ในยามที่ทะเลมีคลื่นแรง แม้บางครั้ง หัวเรือจะผลุบๆ โผล่ๆ อยู่ในน้ํา แต่หัวโทง จะไม่จมหายไป ชาวประมงจึงใช้หัวโทง เป็นเสมือน “เข็มทิศ” หรือ “ธงนํา” ในการเล็งแนวที่จะนําเรือเข้าสู่ฝั่ง หรือตรงไปยังจุดหมายปลายทางอย่างแม่นยํา

กับอีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง พิเคราะห์ว่าหัวเรือที่สูงยาว มี ลักษณะคล้ายปลาที่มีปากยื่นยาวเป็นพิเศษ คือปลากระโทงร่ม (Sail Fish) ปลาทะเลในตระกูลเดียวกับมาร์ลิน (Marlin) หรือ ปลากระโทงแทง ที่ชาวตะวันตกรู้จักดี เพราะปลากระโทง ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะเด่นตรงปากแหลมยาวเป็นฟุต และยังมีครีบหลังกว้างกางออกมาเป็นใบ ทําให้มันว่ายน้ําได้เร็วทั้งยังสามารถพุ่งตัวขึ้นทะยานอยู่กลางอากาศเหนือพื้นน้ําได้อย่างสง่างาม จึงเป็นปลาที่ชาวประมงและนักตกปลาปรารถนาจะได้เผชิญหน้ายามที่พวกเขาออกทะเล ครั้นเมื่อ ชาวบ้านสร้างเรือที่มีหัวยาวสําหรับฝ่าคลื่นทะเลได้ดี จึงเรียกชื่อ เรือตามชื่อปลาว่า “เรือหัวโทง”

กระบี่ยังเป็นจังหวัดเดียวที่มี “พิธีผูกผ้าเรือหัวโทง” อย่างเอิกเกริกเป็นประจําทุกปีเพื่อบูชาคารวะแม่ย่านางเรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้คุ้มครองเรือ จะได้เป็นขวัญและกําลังใจ ให้ชาวเรือยามนําเรือหัวโทงออกไปทําประมง หรือพานักท่องเที่ยวไปเยือนเกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน โดยพวกเขาจะนําผ้าสีสันสดใสมาผูก ที่หัวโทงเรือ แล้วคล้องพวงมาลัยดอกดาวเรืองทับลงบนผ้าเพื่อความเป็นสิริมงคล

มีคําบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า เรือหัวโทงเกิดขึ้นครั้งแรกที่ตําบลตลิ่งชัน อําเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ก่อนจะแพร่ หลายไปในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มี หลักฐานใดมายืนยันคําบอกเล่าดังกล่าวได้ นอกจากเป็นที่ทราบกันดีว่า แหล่งต่อเรือหัวโทงแหล่งใหญ่ที่ชาวอันดามัน ยอมรับอยู่ที่ตําบลตลิ่งชัน อําเภอเหนือคลอง

สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยของนักนวัตกรรมสังคม คือคุณกันทิมา บ่อหนา ตามโครงการศึกษาทุนทางสังคมเพื่อ การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าพบว่าการต่อเรือหัวโทงเป็นอาชีพสําคัญของชาวประมงตําบลตลิ่งชันมานาน อีกทั้งช่างต่อเรือหัวโทงฝีมือดี ระดับที่ได้รับ การยกย่องเป็น “ปราชญ์ชาวบ้าน” คือช่างหมาดโยบ กุลพ่อ ก็เป็นชาวตําบลตลิ่งชัน อําเภอเหนือคลอง โดยท่านสืบทอด อาชีพต่อเรือมาจากคุณพ่อ และเล่าว่าคนที่นี่ค้นพบว่าไม้พะยอมกับไม้ทั้ง เหมาะสมจะนํามาต่อเรือหัวโทงมานาน มากแล้ว

นอกจากนั้น กระบี่ยังเป็นจังหวัดเดียวที่มี “พิธีผูกผ้า เรือหัวโทง” อย่างเอิกเกริกเป็นประจําทุกปี เพื่อบูชาคารวะ แม่ย่านางเรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้คุ้มครองเรือ จะได้เป็นขวัญและกําลังใจให้ชาวเรือยามนําเรือหัวโทงออกไปทําประมงหรือพานักท่องเที่ยวไปเยือนเกาะต่างๆ

ในทะเลอันดามันโดยพวกเขาจะนําผ้าสีสันสดใสมาผูกที่หัวโทงเรือ แล้วคล้อง พวงมาลัยดอกดาวเรืองทับลงบนผ้าเพื่อความเป็นสิริมงคลดั่งการเอาอกเอาใจแม่ย่านางเรือ ด้วยการแต่งตัวให้ท่านด้วย เสื้อผ้าชุดสวย พร้อมเครื่องประดับตระการตา เช่นนี้แล้วก็จะได้ใช้เรือของแม่ย่าทํามาหากินด้วยความสบายใจไปตลอดทั้งปีพิธีผูกผ้าเรือหัวโทงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในงาน “กระบี่เบิกฟ้าอันดามัน” ที่ทางการจังหวัดกระบี่จัดขึ้นในราว เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ที่ชายหาดนพรัตน์ธารา เขตอําเภอ เมืองกระบี่ ภายในงานมีการแสดงทางวัฒนธรรม ดนตรีพื้นบ้าน และการแข่งเรือหัวโทงกันอย่างสนุกสนาน รวมทั้งมีการจําหน่ายเรือหัวโทงจําลอง เป็นสินค้าของที่ระลึกที่นักท่องเที่ยวประทับใจ โดยแหล่งผลิตเรือหัวโทงจําลองแหล่งใหญ่อยู่ที่บ้านเกาะกลาง ตําบลคลองประสงค์ อําเภอเมืองกระบี่

จึงกล่าวได้ว่า เรือหัวโทง นวัตกรรมจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน อันชาญฉลาด บัดนี้ คือ “ทุนทางสังคม” ที่มีบทบาทสําคัญ ในการพัฒนาชุมชนชายฝั่งทะเลอันดามันได้อย่างยั่งยืนและสง่างาม

About the Author

Share:
Tags: สัตว์ทะเล / ฉบับที่ 10 / อันดามัน / เรือหัวโทง / ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม / ทะเล / สัตว์น้ำ /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ