Thursday, July 4, 2024
ศิลปะ เพื่อสังคม สัมภาษณ์ บทความแนะนำ ปตท ADVERTORIAL

สีสันของ ศิริกุลวดี ประเสริฐวิทย์ ศิลปินเยาวชนศิลปกรรม ปตท. และเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ

ลองสิ . ดื่มสิ . กินสิ . วาดดูสิ

ขอเล่าถึงนวนิยายสุดคลาสสิกที่พาเราไปพบความมหัศจรรย์ของโลกจินตนาการ เรื่อง อลิซในแดนมหัศจรรย์ นิยายแฟนตาซีของ ลูอิส แคร์รอลล์ (Lewis Carroll) ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1865 รุ่นดิสนีย์เวอร์ชั่นที่คุ้นเคยโดยนักวาดภาพประกอบ แมรี่ แบร์ (Mary Blair) ราวปี 1951 และ เวอร์ชั่นภาพยนต์ปี 2010 โดย ทิม เบอร์ตัน ที่มี จอห์นนี เดปป์ ร่วมแสดง

การผจญภัยแนวเพ้อฝันของ อลิซ สาวน้อยช่างสงสัย ไล่ตามเจ้ากระต่ายสีขาวแต่งตัวแปลกตา จนตกปุ๊กลงโพรง แล้วยังใสซื่อเอาอะไรไม่รู้เข้าปากแค่เห็นคำว่า “ลองสิ” หรือ “Try Me” “ดื่มสิ Drink Me” หรือ “กินสิ Eat Me” จนตัวเล็กบางโตบาง เจอเจ้าหญิง ทหารผู้พิทักษ์ ผจญภัยในโลกประหลาด Whimsical จนเหนื่อยกว่าจะรู้สึกตัวฝันไป

แมรี่ แบร์ นักวาดภาพประกอบ จาก Disney cr: https://banterflix.com/

คาร์เรคเตอร์แต่ละตัวที่นักวาดภาพประกอบบรรจงปาดลายเส้น เรื่องแล้วเรื่องเล่า ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหญิง นางฟ้า เหล่านางเหงือกเล่นน้ำในดินแดนปีเตอร์แพน บวกกับการใช้สีสวยสดใส ทำให้ ศิริกุลวดี ประเสริฐวิทย์ หรือ มั่งมี เกิดความสนใจในศิลปะโดยเฉพาะในแขนงภาพประกอบ และคอนเซ็บชวลอาร์ต

ศิริกุลวดี ประเสริฐวิทย์ ศิลปินเยาวชนศิลปกรรม ปตท.ปี 2565 และเยาวชนดีเด่นแห่งชาติปี 2565

ตอนลองทำงานประกวดครั้งแรก
หนูก็ทำได้ไม่ดี  รู้สึกเศร้า แต่หนูคิดว่าไม่เป็นไร
เพราะมีคนที่เก่งและมีประสบการณ์เยอะกว่าเราอีกมาก

Alice รุ่นแรกของดิสนีย์ 1951 ภาพประกอบโดย แมรี่ แบร์
cr: www.goodreads.com/

ตอนเด็กมั่งมีน่าจะช่างสงสัยเหมือนอลิซ (ตัวละครโปรดของเธอ) จึงลองวาดภาพตามนิทานคลาสสิก ยิ่งวาด ยิ่งสนุก เหมือนได้ท่องโลกแห่งจินตนาการผ่านลายเส้น

ซิกเนเจอร์ หรือความเป็นเอกลักษณ์ในผลงานของเธอ คือ การใช้สีชมพู สีแห่งความสดใส ความสุข ร่าเริง อ่อนโยน มีความเป็นเฟมินิสต์ และยังใส่คาร์เรคเตอร์ เช่น เทพธิดา นางฟ้า ผีเสื้อ แบบที่เธอชื่นชอบอีกด้วย

ทางครอบครัวเมื่อเห็นว่ามั่งมีตั้งใจ เลยให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี อีกทั้งคอยหาข้อมูลการประกวดผลงานมาให้ประลองฝีมืออยู่เรื่อยๆ

มั่งมีเล่าให้ฟังว่าเมื่อเริ่มส่งผลงานเข้าประกวดงานศิลปกรรมว่า

“ตอนลองทำงานประกวดครั้งแรกหนูก็ทำได้ไม่ดี  รู้สึกเศร้า แต่หนูคิดว่าไม่เป็นไร เพราะมีคนที่เก่งและมีประสบการณ์เยอะกว่าเราอีกมาก ถือเป็นการเรียนรู้ ไม่ได้ครั้งนี้เราลองใหม่เรื่อยๆ เดี๋ยวต้องได้เอง”

ด้วยความคิดเชิงบวก เป็นพลังผลักดันให้พัฒนางานไปข้างหน้าจนเป็นที่ยอมรับทั้งในเวทีประกวดระดับประเทศ และเวทีประกวดในต่างประเทศ จนได้รับรางวัลเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ด้านศิลปวัฒนธรรม การสื่อสาร และอาชีพ ประจำปี 2565 จากกรมกิจการเด็กและเยาวชน มาอีกด้วย

รางวัลดีเด่น ระดับเยาวชนอายุระหว่าง 14 – 18 ปี การประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 37 ประจำปี  2565 
หัวข้อ “ลมหายใจเดียวกัน” ชื่อผลงาน “ลมหายใจจากเทพธิดา”

เทคนิค สีอะครีลิคบนกระดาษ ขนาด 92 x 68  ซม.

กว่าจะเป็นศิลปินเยาวชนเวทีศิลปกรรม ปตท. กับความหลากหลายของหัวข้อการประกวดจากปตท.

“หนูตีโจทย์หัวข้อ ลมหายใจเดียวกัน โดยใช้เทพธิดา คาร์แรคเตอร์โปรดในการสร้างสรรค์ผลงาน เทพธิดาในความหมายของหนูเปรียบดังผู้ที่ให้ความรัก ความอบอุ่น ความเชื่อความปลอดภัย ให้ลมหายใจในการใช้ชีวิตใหม่บนโลกในปัจจุบัน และอนาคตอย่างมีความสุข เนื่องจากสรรพสิ่งที่มีชีวิตบนโลกมนุษย์ย่อมอาศัยการอยู่ร่วมกัน มีการพึ่งพาอาศัย ใช้ทรัพยากรร่วมกัน อากาศ และน้ำร่วมกัน จึงต้องช่วยกันอนุรักษ์รักษาสิ่งเหล่านี้ให้ยั่งยืน สำหรับหนู เทพธิดาที่เปรียบเสมือนผู้ให้ทุกอย่าง และยังเปรียบเหมือนตัวเราที่ต้องช่วยกัน เพื่อคืนลมหายใจให้กันทุกสรรพสิ่งมีชีวิตได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างผาสุข”

เวลา คือ อุปสรรคในการทำงาน

“หนูชอบทำงานช้าๆ ค่อยๆทำ แต่หลายๆครั้งมีเวลาจำกัดรวมถึงหนูยังต้องเตรียมตัวการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และสอบที่โรงเรียนอีกด้วย พอได้รับกำลังใจจากเพื่อนๆ ครู ผู้ปกครอง ทำให้มีกำลังใจในการทำงาน นอกจากการฝึกฝนสม่ำเสมอแล้ว หากเราอยากศึกษาอะไร ควรจะศึกษาจากผู้มีประสบการณ์ตรง อย่าง ครูแบงค์ ธนัช พรหมเมตตา แห่ง สถาบันศิลปะที่บ้านสีโป้ว ศิลปินที่ผ่านการประกวดศิลปกรรมมาก่อน คุณครูหลายท่านที่สอนที่นี่ผ่านเวทีส่งงานประกวดมาก่อน หนูเลยไปศึกษาเพิ่มที่นี่ค่ะ”

การประกวดศิลปกรรม ปตท. มีประโยชน์อย่างไร

“รู้สึกขอบคุณเวทีศิลปกรรมปตท. ที่จัดการประกวดให้ศิลปินได้สร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้ลองทำในหัวข้อที่ท้าทาย เมื่อเห็นผลงานตนเองเข้ารอบ นอกจากจะภูมิใจแล้วยังเป็นแรงบันดาลใจแก่ทุกท่านที่มาชมผลงานศิลปะที่จัดแสดงในหอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา อีกด้วยค่ะ”

มุมมองกว้างไกลในวัยมัธยมปลาย ที่พร้อมก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นคง นับได้ว่าเวทีประกวดผลงานศิลปกรรมปตท. นั้น เป็นพลังช่วยปลูกฝังความคิด จินตนาการ และส่งต่อพลังบวกต่อส่วนรวม ผลิตเยาวชนแบบอย่างที่ดีสำหรับสังคมต่อไป

” ถ้าชนะจะได้รางวัลตอบแทน แต่ถึงจะไม่ชนะจะได้ประสบการณ์ที่ดี มาร่วมส่งผลงานกันนะคะ ”
มั่งมี – ศิริกุลวดี ประเสริฐวิทย์

ผลงานของมั่งมี – ศิริกุลวดี ประเสริฐวิทย์

ขอขอบคุณ: หอศิลป์ ณ บ้านพระยา สถาบันศิลปะที่บ้านสีโป้ว

เรื่อง: อาภาวัลย์ ลดาวัลย์ ภาพ: ธนิต มณีจักร

ที่มา

About the Author

Share:
Tags: ศิลปกรรมปตท / ประกวด / พลังชีวิต / นิทาน / บ้านสีโป๊ว สตูดิโอ / ศิลปะ / PTT Art Gallery / ศิริกุลวดี ประเสริฐวิทย์ / ศิลปิน / PTT Art Awards / เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ / art / หอศิลป์บ้านเจ้าพระยา / ประกวดงานศิลปกรรม / PTT Art Awards ครั้งที่ 39 / ปตท / การประกวดศิลปกรรม ปตท. / ptt / พลังที่ส่งต่อ / ลมหายใจเดียวกัน /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ