Sunday, July 7, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

ล้ำเลอค่า ตุงล้านนา สหวิทยาการ

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 18
เรื่อง/ ภาพ ธีรภาพ โลหิตกุล

ตุงค่าคิง ประดับพระธาตุเก้าหน่อ ณ เขตปกครองตนเองไทลื้อ สิบสองปันนา ในจีนยูนนาน

ล้ำเลอค่า

ตุงล้านนา

สหวิทยาการ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ตุง” หรือธงหลาก สีสัน หลายลวดลาย หลากหลาย ขนาด ประดับเด่นเป็นสง่าตาม วัดวาอาราม สองฟากฝั่งทางเข้า หมู่บ้าน สถานที่สําคัญ ตลอดจน ใช้นําขบวนแห่ในทุกเทศกาล ทุก งานประเพณี คือมนตร์เสน่ห์หนึ่งที่ตรึงใจใครต่อใครให้หลงใหลของดินแดนล้านนา

และจะยิ่งหลงรัก หากได้เรียนรู้ถึงความสําคัญของธง หรือตุงล้านนาแต่ละชนิดซึ่งมีวัตถุประสงค์และความเป็นมาแตกต่างกัน ทว่าทั้งหมดทั้งมวลล้วนรังสรรค์ขึ้นด้วยความ รัก แรงศรัทธา ภูมิปัญญา และฝีมือ

คติความเชื่อที่ส่งอิทธิพลต่อความรู้สึก นึกคิดของชาวล้านนาเกี่ยวกับอานิสงส์ของการทําธงหรือตุงถวายเป็นพุทธบูชา เห็นจะเป็นเรื่องของนายพรานนักล่าสัตว์คนหนึ่งที่เข้าป่า แล้วบังเอิญไปพบพระพุทธรูปองค์ใหญ่มีพุทธลักษณะงดงามน่าประทับใจ บันดาลใจให้เขาเลิกทําบาปจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แล้วจัดแจงหาผ้ามาทํา “ตุง” ไปสักการบูชาพระปฏิมาองค์นั้น

ครั้นเมื่อนายพรานสิ้นอายุขัย พระยายมราชเห็นว่าเป็นนายพราน จึงพิพากษาให้เขาตกนรก ทว่าทันใดนั้น ตุงที่นายพรานเคย ทําถวายพระพุทธรูปก็ลอยลงมาพันตัวนาย พราน แล้วดึงเขาพ้นจากปากขุมนรกได้อย่าง หวุดหวิด พระยายมราชจึงพิจารณานาย พรานใหม่ ก่อนตัดสินให้นายพรานขึ้นสวรรค์ ไปในที่สุด

ดังนั้น แต่ละขั้นของลวดลายตุงจึงเป็น สัญลักษณ์แทนบันไดนําเราไปสู่สรวงสวรรค์ ส่งผลให้เกิดความนิยมทําบุญถวายธงเป็น พุทธบูชา อย่างที่เรียกกันในภาษาล้านนาว่า “ตานตุง” ทั้งเพื่อสั่งสมอานิสงส์ผลบุญให้ ตนเอง ให้บรรพชนผู้ล่วงลับ เพื่อประดับศาสน สถาน ศาสนวัตถุในงานปอยหลวง หรืองาน เฉลิมฉลองต่างๆ อย่างงานทอดกฐินสงกรานต์ ตลอดจนเพื่อสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตาเพื่อ ความเป็นสิริมงคลกับชีวิต

วัสดุที่ใช้หลากหลายชนิด นับตั้งแต่ กระดาษ ผ้า ไม้ โลหะเงิน และทอง มีชื่อเรียก แตกต่างกันไปมากมาย จําแนกได้ ๓ ประเภทหลัก คือ

ตุงไชย เสริมสง่าราศี ในพิธีตีกลองสะบัดไชย

๑. ตุงใช้ประดับตกแต่งศาสนสถานในงานฉลอง

เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นเครื่องหมาย นําทางไปสู่บริเวณงาน ได้แก่ ตุงไชย หรือตุง ไทย เป็นตุงขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถือว่ายิ่งยาวยิ่งได้อานิสงส์มาก ทําจากผ้า เส้น ฝ้าย เส้นไหม ถักทออย่างวิจิตร ตุงกระด้าง ทําด้วยวัสดุคงทนถาวร เช่น ไม้แกะสลัก ปูนปั้นโลหะแผ่นฉลุลาย ตุงพระบฏ เป็นผ้าใบหรือ กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประดับภาพพระพุทธ รูปปางประทับยืน ปางลีลา หรือปางเปิดโลกประดับไว้ด้านหลังพระประธานในโบสถ์

ลายปูรณฆฏะ ประดับธรรมาสน์ ที่วัดต้นแหลง อําเภอปัว จังหวัดน่าน

๒. ตุงใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ

ส่วนใหญ่ทําจากกระดาษสี อาทิ ตุงตัวเปิ้ง หรือตุงประจําปีเกิด พิมพ์หรือเขียนเป็นรูป สัตว์ประจําปีเกิด นิยมปักบนเจดีย์ทรายใน เทศกาลสงกรานต์ ตุงช่อ หรือตุงจ้อ ทําด้วย กระดาษสี ส่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาด เล็ก ใช้ในพิธีสืบชะตา ตุงไส้หมู รูปทรงจอม แห ทําจากกระดาษสี ผูกติดกับกิ่งไม้ หรือก้าน ไม้ไผ่เล็กๆ ใช้ปักบนกองเจดีย์ทรายในวัน สงกรานต์ หรือประดับเครื่องไทยทานต่างๆ ตุงค่าคิง เป็นตุงรูปทรงแคบ ความยาวเท่า ความสูงของผู้ถวาย ผืนตุงทําจากกระดาษ ขาว ตกแต่งลวดลายด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง ใช้ในงานขึ้นบ้านใหม่ที่มีพิธี สืบชะตาและสะเดาะเคราะห์

ตุงไส้หมู รูปทรงจอมแห ทําจากกระดาษสี ประดับ “จองพารา” หรือปราสาทพระพุทธเจ้า ของชาวไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ตุงของชาวล้านนายังมีอีกหลายชนิด ในหลายวัตถุประสงค์จนกล่าวได้ว่าภูมิปัญญาว่าด้วยตุงล้านนานั้นสามารถจําแนกเป็น องค์ความรู้ได้หลาย สาขา ถึงขั้นเป็น “สหวิทยาการ”

๓. ตุงที่ใช้งานอวมงคล

อาทิ ตุงสามหาง หรือตุงรูปคน หรือตุงผีตาย ใช้นําหน้าศพไปสุสานหรือเชิงตะกอนเพื่อให้ เกิดมรณานุสติ ว่าด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตุงแดง หรือตุงผีตายโหง ยาว ๔-๖ ศอก กว้าง ราวคืบเศษๆ ใช้ปักไว้บริเวณที่มีผู้ตายด้วย อุบัติเหตุ ตุงเหล็ก หรือตุงตอง ทําด้วยแผ่น สังกะสีหรือแผ่นทองเหลืองยาว ๑ คืบ กว้าง ๒ นิ้ว มีคันตุงทําจากเส้นลวดหรือไม้ไผ่ โดย มักจะทําอย่างละ ๑๐๘ อัน วางไว้บนโลงศพ อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย

นอกเหนือจากนี้ ตุงของชาวล้านนายังมี อีกหลายชนิดในหลายวัตถุประสงค์ จนกล่าว ได้ว่า ภูมิปัญญาว่าด้วยตุงล้านนานั้นสามารถ จําแนกเป็นองค์ความรู้ได้หลายสาขา ถึงขั้น เป็น “สหวิทยาการ” อาทิ วิชาหัตถศิลป์ คติชนวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ เพราะไม่ว่า ชาวล้านนาจะจัดกิจกรรมหรือเทศกาลงาน ประเพณีอะไร จะเล็กหรือใหญ่ขนาดไหน ต้อง มีตุงเข้ามาเกี่ยวข้อง

ตุงไชย หรือตุงไจยนิยมใช้เป็นสัญลักษณ์นำขบวนแห่ทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม ในตํานานของชาวล้านนา ไม่มีการทํา “ตานตุง” ครั้งใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่า ในสมัยพระเจ้าอชุตราช ผู้ครองแคว้นโยนก นาคนคร ต้นธารแห่งอาณาจักรล้านนา เมื่อ กว่าพันปีก่อน คือ ใน พ.ศ.๑๔๕๔ เมื่อพระ มหากัสสปเถระอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า ซ้าย) แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากชมพูทวีป มาถวาย ในวาระที่ศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานในดินแดนนี้เป็นครั้งแรก

แต่ละขั้นตอนของลวดลายตุงเป็นสัญลักษณ์แทนบันไดไปสู่สวรรค์
ตุงช่อในงานประเพณีตานก้วยสลาก ของชุมชนชาวเหนือ ในกรุงเทพฯ

พระเจ้าอชุตราชทรงเลื่อมใสศรัทธา มาก จึงโปรดให้สร้างพระธาตุสําหรับบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอดดอยสูงกว่าตุงช่อในงานประเพณีตานก๋วยสลาก ของชุมชนชาวเหนือ ในกรุงเทพฯ ๒,๐๐๐ เมตร ณ เทือกเขาขุนน้ํานางนอน (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย) นับ เป็นปฐมบรมธาตุ หรือปฐมเจดีย์แห่ง ดินแดนล้านนา โดยก่อนจะสร้างพระสถูป ธาตุนั้น โปรดให้ทําธงตะขาบหรือตุง ให้ใหญ่และยาวถึง ๑,๐๐๐ วา ปักไว้เป็น พุทธบูชาบนยอดดอย พร้อมตั้งจิตอธิษฐาน หากตุงผืนนี้ปลิวไปไกลถึงเพียงไหน ก็ให้ กําหนดหมายเป็นฐานของพระสถูปธาตุ เพียงนั้น พระสถูปธาตุองค์นี้จึงถูกเรียกขาน ว่า “พระธาตุดอยตุง” มาตราบวันนี้

แม้กาลเวลาจะล่วงเลยมากว่า ๑,๐๐๐ ปีแต่ตํานานพระธาตุดอยตุงยังเป็นประจักษ์ พยานบ่งบอกว่า ชาวล้านนามีความรัก ความ ศรัทธา และความผูกพันกับ “ตุง” หรือธง แห่งอานิสงส์ผลบุญเพียงใด

About the Author

Share:
Tags: travel / เที่ยว / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / ฉบับที่ 18 / ตุงล้านนา / ล้านนา / ตุง /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ