Saturday, November 2, 2024
แบกะดิน งานศิลป์สุเชาว์

แบกะดิน งานศิลป์สุเชาว์

Oct 24, 2024
เรื่อง/ภาพ: ตัวแน่น                   ช่วงนี้กระแสที่เกี่ยวกับภาพวาดฝีมือ สุเชาว์ ศิษย์คเณศ กำลังเป็นเรื่องฮิตติดลมบน มีผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการออกมาเขียนหนังสือ เขียนบทความ แม้กระทั่งในงานประมูล ราคาผลงานสุเชาว์ก็พุ่งปรี๊ดอย่างกับติดจรวด ทำเอาเราถึงกับมานั่งคิดว่ารู้งี้ น่าจะกวาดงานสุเชาว์ชิ้นดีๆ เอาที่ชัวร์ๆ เก็บเอาไว้เยอะๆ สมัยที่ราคาค่างวดยังเฟรนด์ลี่ เพราะถ้าจะให้ไปตามหาซื้องานประเภทนี้ในวันนี้ บอกตามตรงว่าชิ้นเด็ดๆแต่ละชิ้นนี่ต้องมีหลายๆล้านไม่ต่างอะไรกับซื้อบ้านซักหลังสองหลัง          ไหนๆก็ว่ากันถึงเรื่องบ้าน เรื่องสุเชาว์ กันแล้ว เลยจะขอเล่าถึงเหตุการณ์สุดพิลึกแบบ อึ้ง ทึ่ง ซึ่งเพิ่งพบเจอมากับตัวแบบหมาดๆ […]
ทองแท้ไม่แพ้ไฟ ดั่งงานศิลปะแท้ไม่แพ้การพิสูจน์

ทองแท้ไม่แพ้ไฟ ดั่งงานศิลปะแท้ไม่แพ้การพิสูจน์

Sep 27, 2024
เรื่อง/ภาพ: ตัวแน่น           ของทุกอย่างในโลก เมื่อไหร่ที่มีราคาค่างวดขึ้นมา ก็จะมีมิจฉาชีพสร้างของปลอมขึ้นมาเพื่อหาผลประโยชน์จากผู้ไม่รู้ สมัยก่อนในวงการศิลปะบ้านเราเรื่องพรรค์นี้ไม่ค่อยประสบพบเจอ เพราะงานศิลปะไม่ได้มีค่า เปลี่ยนมือกันในราคาถูกๆ บางทีรักใครชอบใครก็ยกให้กันฟรีๆ ไม่ได้มีการเปลี่ยนมือกันในราคาเป็นแสนเป็นล้านเหมือนในปัจจุบัน พอผลงานศิลปะในประเทศไทยเกิดมีมูลค่า เหล่าทุรชนก็กระดี๊กระด๊าเริ่มสร้างผลงานลอกเลียนศิลปินที่มีชื่อ แล้วเอามาเร่ขาย ผู้บริโภคจึงต้องระมัดระวังตรวจสอบกันให้ดีๆ มิฉะนั้นอาจจะเสียหายกลายเป็นเหยื่อโจรได้          แต่เดี๋ยวก่อน พอรู้อย่างนี้อย่าเพิ่งตกใจ พากันหนีหายเลิกซื้อหางานศิลปะกันไปหมด แม้ว่าการพิสูจน์ผลงานซักชิ้นว่าเป็นของแท้หรือเทียมบางทีก็ยาก แต่ก็ไม่ถึงกับดูไม่ออกบอกไม่ได้ ซึ่งเอาเข้าจริงยิ่งถ้าเราตระหนักให้มาก ตรวจสอบให้ละเอียดมีสารพัดอาวุธครบมือ การเสาะแสวงหา และพิสูจน์งานศิลปะซึ่ง […]
ยลวัดพระแก้วแล้วทะลุมิติไปกับ ประสงค์ ปัทมานุช

ยลวัดพระแก้วแล้วทะลุมิติไปกับ ประสงค์ ปัทมานุช

Jul 23, 2024
ภาพวัดพระแก้วในกรอบรูปไม้สักกรอบเล็กๆกรอบหนึ่งซึ่งแขวนแสดงอยู่ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2493 นั้นเป็นเสมือนดั่งกรอบหน้าต่างแห่งกาลเวลาที่นำพาผู้ชมทะลุมิติเพื่อมาสัมผัสวงการศิลปะไทยในอีกเกือบ 80 ปีข้างหน้า ท่ามกลางผลงานจิตรกรรมชิ้นสำคัญในตำนานที่ปาดป้ายด้วยสีน้ำมันอย่างฉวัดเฉวียนด้วยโทนสีหนักๆผสมผสานกันในแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ และประติมากรรมส่วนใหญ่ที่เน้นความสมจริงขั้นสุดในทุกกระเบียดของสรีระร่างกาย ภาพวัดพระแก้วภาพนี้ดูเหมือนจะไม่เข้าพวกกับผลงานชิ้นอื่นๆที่รายล้อมอยู่เอาซะเลย เพราะถูกสร้างสรรค์ด้วยคู่สีสวยๆดูฟรุ้งฟริ้งแทบออกไปทางพาสเทล แต่ละสีถูกระบายแบบทึบๆ เรียบๆ แบนๆ ตัดขอบคมๆแยกเป็นช่องๆ ภาพอุโบสถ เจดีย์ ต้นไม้ ก้อนเมฆ ท้องฟ้า ถูกหยิบยกมาเพียงรูปทรง ไม่เน้นความสมจริงใดๆ ผลงานศิลปะที่ใช้สี เทคนิค […]
เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ กับจิตใต้สำนึกที่เป็นไทยในความรู้สึก

เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ กับจิตใต้สำนึกที่เป็นไทยในความรู้สึก

Jul 5, 2024
‘สมัยนั้นผมไปบ้านเพื่อน ไปเห็นหน้าต่างเก่าๆชุดนี้วางอยู่น่าสนใจดี ผมเลยยกกลับมาสร้างเป็นงาน…ภาพนี้ผมได้แนวคิดมาจากเสื้อที่แขวนอยู่บนราวตากผ้า…วันนี้พอได้มาเห็นรายละเอียด จำไม่ได้จริงๆว่าตอนนั้นผมทำถึงขนาดนี้เลย!’           นี่คือคำบอกเล่าของ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) และศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทจิตรกรรม ที่พรั่งพรูออกมาขณะยืนอยู่ตรงหน้าผลงานสื่อผสมชิ้นสำคัญจากฝีมือของท่านเองที่มีชื่อว่า ‘ภาวะของจิตใต้สำนึก 2’ (State of the Subconscious 2) เมื่อบ่ายวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 หลังจากไม่ได้เห็นผลงานชิ้นนี้มาเกือบครึ่งศตวรรษ […]
ที่สุดของที่สุด คือ ภาพชุดนางละคร

ที่สุดของที่สุด คือ ภาพชุดนางละคร

May 30, 2024
         ในการสะสมผลงานศิลปะสมัยใหม่ มีแนวคิดว่าผลงานที่จะมีราคาสูงต้องดูอินเตอร์ ไม่ดูเป็นผลงานของชาติใดชาติหนึ่ง นักสะสมที่ใดๆในโลกเขาจะได้เข้าใจ เผื่อจะสนใจหันมาสะสมด้วย ตลาดของผลงานนั้น ๆ ก็จะยิ่งกว้างขวางหลุดออกจากอาณาเขตประเทศต้นกำเนิด ไปมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และมีนักสะสมมากมายหลากชาติ หลายภาษาให้ราคาแข่งขันกัน            แนวคิดทำนองนี้ฟังดูมีเหตุมีผล แต่เอาเข้าจริงในบางสถานการณ์ก็ไม่สามารถแอพพลายได้ โดยเฉพาะในบ้านเราที่ผลงานศิลปะที่ดูไทยจ๋าแบบสุด ๆ บางชุด กลับกลายเป็นที่เสาะแสวงหาจนมีมูลค่าพุ่งทะยานแซงผลงานในแนวอื่น ๆ ที่ดูอินเตอร์ไปซะทั้งหมด           เคยมีนักสะสมหลาย ๆ ท่านถามไถ่กันมาว่า […]
ทำไมระเบียงบ้าน ถวัลย์ ดัชนี ถึงมีแรมโบ้

ทำไมระเบียงบ้าน ถวัลย์ ดัชนี ถึงมีแรมโบ้

May 15, 2024
เรื่อง/ภาพ: ตัวแน่น ในบรรดาฉากเหตุการณ์สำคัญต่างๆในพุทธประวัติ คงไม่มีฉากไหนที่ดูดรามาติก ยิ่งใหญ่ ทรงพลัง เร้าอารมณ์ ไปกว่าฉาก มารผจญ ซึ่งเกิดขึ้นในห้วงเวลาหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับนั่งขัดสมาธิใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ แล้วอธิษฐานจิตว่าหากยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่ลุกไปไหน ถึงแม้ร่างกายจะแห้งเหี่ยวเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกก็ตาม การตั้งจิตซึ่งนำไปสู่การตรัสรู้ในครั้งนี้เป็นปฏิปักษ์โดยตรงกับพญามารซึ่งดลใจให้ผู้คนประพฤติชั่ว และตกอยู่ใต้อำนาจ ส่งผลให้บัลลังก์แห่งพระยาวัสสวดีมารเกิดการสั่นไหวอย่างรุนแรง พระยาวัสสวดีมารจึงไม่รอช้าขี่ช้างคีรีเมขล์ พร้อมพรั่งด้วยกองทัพมารจำนวนมหาศาล ยกพลมาเพื่อขับไล่พระองค์ให้เสด็จหนีไป      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะยังทรงนิ่งเฉยไม่เกรงกลัว กองทัพมารจึงกระหน่ำซัดศัสตราวุธนานาชนิดเข้าใส่ แต่พอเข้าใกล้พระองค์อาวุธต่างๆกลับกลายสภาพเป็นกลีบดอกไม้ไปเสียทั้งหมด พระยาวัสสวดีมารเห็นดังนั้นจึงเปลี่ยนยุทธวิธีโดยการอ้างสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของที่ประทับใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์แห่งนี้ และสั่งให้พระองค์ลุกออกไป […]
ทะเลมรกต คู่ฟัดที่สูสีของซิมโฟนี่จักรวาล

ทะเลมรกต คู่ฟัดที่สูสีของซิมโฟนี่จักรวาล

May 10, 2024
เรื่อง/ภาพ: ตัวแน่น อาจจะฟังดูเหมือนอภินิหาร แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย เมื่อได้ทราบข่าวว่าเมื่อในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ภาพ ‘The Symphony of the Universe’ ฝีมือศิลปินไทยนามว่า ประเทือง เอมเจริญ จะถูกประมูลไปในราคาสูงถึง 6,048,000 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือราวๆ 27,400,000 บาท […]
ปลา ถวัลย์ ดัชนี ในเงื้อมมือดาลี

ปลา ถวัลย์ ดัชนี ในเงื้อมมือดาลี

Apr 10, 2024
      เคยเห็นกันไหม มุกในหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ที่คนกินข้าวคลุกน้ำปลา ในขณะที่ดูภาพวาดปลา จินตนาการไปว่ากำลังได้กินปลาตัวนั้นอยู่จริงๆ หากดูเผินๆ ก็แค่มุกขำๆ แต่ถ้ามาพินิจพิเคราะห์กันอย่างจริงจังผู้ที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นคงรู้สึกอัดอั้นจนไม่มีทางจะขำออกเลย           พอยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมา ก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึง สุเชาว์ ศิษย์คเณศ ศิลปินไทยท่านหนึ่ง ซึ่งมีชีวิตยากลำบาก กำพร้าพ่อแม่แต่ยังเล็ก เติบใหญ่มาแบบไม่มีสตางค์ต้องอยู่อย่างอดมื้อกินมื้อจากความอนุเคราะห์จากพี่สาว และเพื่อนๆ เมื่อเลือกอาชีพเป็นจิตรกรก็ถูกดูถูกดูแคลน บ้างหาว่าฝีมือเหมือนเด็กวาด บ้างก็ว่าผลงานที่สร้างสรรค์ออกมามีเนื้อหาเคร่งเครียดไม่เหมาะจะซื้อหาไปประดับประดา ก็แน่ล่ะสิเพราะสุเชาว์เลือกที่จะวาดภาพที่ถ่ายทอด ชีวิต และระบายความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองออกมาแบบไม่เสแสร้ง […]
ส่วนผสมของปรมาจารย์ในงานของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต

ส่วนผสมของปรมาจารย์ในงานของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต

Feb 16, 2024
          เมื่อปี พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช* รัชกาลที่ 9 กำลังทรงสนพระทัยในศิลปะสมัยใหม่ และมีพระราชประสงค์จะให้จัดหาศิลปินชั้นนำมาวาดพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล** รัชกาลที่ 8 พระองค์เอง และ  พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ*** เพื่อนำไปประดิษฐานร่วมกับพระบรมสาทิสลักษณ์บูรพกษัตริย์รัชกาลที่ 1-7 ที่มีอยู่ก่อนแล้วในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ระเด่น บาซูกิ อับดุลลาห์ ยอดฝีมือชาวอินโดนีเซีย ซึ่งพร้อมสรรพคุณสมบัติเพียบพร้อม และชื่อเสียงโด่งดังระดับนานาชาติจึงถูกเชื้อเชิญให้มาเป็นจิตรกรในราชสำนักไทยเมื่อปี พ.ศ. […]
‘สถูป’ จิ๊กซอว์ที่ไม่เคยเผยของ มณเฑียร บุญมา

‘สถูป’ จิ๊กซอว์ที่ไม่เคยเผยของ มณเฑียร บุญมา

Jan 15, 2024
           เมื่อ มณเฑียร บุญมา เกิดมีมุมมองว่าผ้าใบและสีที่ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะนั้นเปรียบเสมือนกรอบที่จำกัดจินตนาการ งานของมณเฑียรจึงสร้างสรรค์อย่างนอกกรอบไปเลยจนยากที่จะคาดเดารูปแบบและเทคนิคได้ เริ่มจากผลงานชุด ‘Changing World’ หรือ ‘โลกที่เปลี่ยนแปลง’ ในปี พ.ศ. 2526 ที่จัดแสดงร่วมกันกับเพื่อนๆศิลปิน ‘กลุ่มไวท์’ ที่มณเฑียรเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นสมาชิก ในนิทรรศการครั้งนั้นโจทย์ที่ศิลปินทุกคนในกลุ่มได้รับคือการสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำ แทนที่จะเอาพู่กันจุ่มสีแล้วป้ายลงบนกระดาษให้เป็นภาพเหมือนที่ปกติเขาทำกัน มณเฑียรไม่ได้คิดถึงพู่กันหรือแม้แต่สีเลยด้วยซ้ำ แต่กลับคิดว่าสีน้ำคือสสารอะไรก็ได้ที่สามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย มณเฑียรจึงนำสนิมและครามมาละลายน้ำแทนสี ราดลงบนจานกระดาษที่มีเม็ดข้าวสารเรียงเป็นรูปสี่เหลียมสามเหลี่ยมเหมือนข้าวที่ถูกอัดมาในถ้วยก่อนเสิร์ฟในร้านอาหาร บางจานก็เรียงเป็นรูปร่างปลาหัวหักๆเหมือนปลาทูในเข่ง เมื่อเสร็จแล้วจึงนำจานมาติดเรียงกันด้วยกาวที่ทำเองจากกระเจี๊ยบแบบช่างไทยสมัยโบราณ […]
ไทรทัน และ เนียรีอิด เทพเจ้าผู้ดลใจให้ศิลปะไทยล้ำสมัย

ไทรทัน และ เนียรีอิด เทพเจ้าผู้ดลใจให้ศิลปะไทยล้ำสมัย

Dec 11, 2023
         เมื่อราว 100 ปีที่แล้ว ‘ดุสิตสโมสร’ คฤหาสน์สไตล์อิตาลีที่ออกแบบโดย มาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) นั้นเพิ่งจะแล้วเสร็จใหม่ๆ ในยุคนั้น ตามานโญ นับว่าเป็นสถาปนิกมือหนึ่งในสยาม ขนาดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยังทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งขนาดใหญ่โตโอ่อ่า อลังการที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยรสนิยม และความช่ำชองผู้ออกแบบ ดุสิตสโมสรจึงพร้อมสรรพไปด้วยรายละเอียดพิเศษอันหรูหรา กลายเป็นบ้านพักส่วนตัวหลังงามที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ใดก็ตามที่มีโอกาสได้มาเยี่ยมเยียน ซึ่งรวมถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว […]
วิทรูเวียนแมน เวอร์ชั่น ถวัลย์ ดัชนี

วิทรูเวียนแมน เวอร์ชั่น ถวัลย์ ดัชนี

Oct 12, 2023
สำหรับคนรักศิลปะด้วยกันคงเข้าใจ หากชอบอะไรมากๆ เพียงแค่ได้เห็นรูปถ่ายเบี้ยวๆมัวๆที่ถ่ายติดเพียงเศษเสี้ยวของภาพวาด ก็สามารถส่งผลให้อดรีนาลีนหลั่งจนตื่นเต้นเกินคาด เสียจริตจะก้านเก็บอาการไว้ไม่ไหว หนึ่งในเหตุการณ์ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำชัดเจนเหมือนเพิ่งพบประสบเมื่อวาน เกิดขึ้นในค่ำวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566 วันนั้นขณะที่เรากำลังมีความสุขกับอาหารจีนร้านโปรดอยู่ที่ย่าน Bayswater ณ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ จู่ๆก็เห็นมีอีเมลล์จากผู้ส่งชื่อ Chris ส่งมาในกล่องจดหมายของบริษัทประมูลศิลปะที่เราบริหารอยู่ให้ช่วยประเมินมูลค่าภาพวาดลายเส้น และภาพพิมพ์ ฝีมือ ถวัลย์ ดัชนี เพราะเจ้าของอยากจะทำประกัน ภาพวาดลายเส้นนั้นเขียนขึ้นมาด้วยปากกาลูกลื่นบนกระดาษ ถวัลย์ค่อยๆบรรจงฝนหมึกทีละเส้นด้วยน้ำหนักอ่อนแก่จนเกิดเป็นภาพกลุ่มคนห้อมล้อมอยู่ด้วยกันในอิริยาบถต่างๆ […]
ใหญ่และเล็กที่สุดในชีวิตของ เขียน ยิ้มศิริ

ใหญ่และเล็กที่สุดในชีวิตของ เขียน ยิ้มศิริ

Sep 14, 2023
ในสมุดบันทึกปกสีเขียวเข้มเล่มเขื่องของ เขียน ยิ้มศิริ เขียนได้เก็บรวบรวมรูปถ่ายของผลงานประติมากรรมที่สร้างสรรค์ด้วยฝีมือท่านเองเอาไว้มากมาย แต่ละหน้าของสมุดมีรูปถ่ายถูกบรรจงติดกาวเรียงรายไว้จนครบทุกแผ่นแบบเต็มคาราเบลไม่เว้นแม้กระทั่งด้านหลังของปกหน้าและหลัง รูปไหนถ้าไม่มีพื้นที่ติดจริงๆ ก็จะถูกแทรกไว้ระหว่างแผ่นกระดาษอย่างตั้งใจเหมือนที่คั่นหนังสือ บางหน้ามีรูปเสก็ตช์ชิ้นจริงที่วาดด้วยดินสอ และปากกาติดอยู่แสดงให้เห็นถึงไอเดียตั้งต้น ซึ่งเป็นเชื้อไฟจุดประกายให้เขียนพัฒนาผลงานต่อในรูปแบบสามมิติจนกลายเป็นประติมากรรมชิ้นดังอันเป็นที่เชิดหน้าชูตา ในขณะที่บางหน้ามีคลิปปิ้งบทความข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ที่ยกย่องฝีมือของเขียนให้คนทั้งประเทศได้รู้จักตัดแปะเอาไว้ สมุดเล่มนี้จึงดูคล้ายกับ ‘พอร์ตฟอลิโอ’ (Portfolio) หรือแฟ้มสะสมผลงานที่แสดงตัวตน ทักษะความสามารถ และรางวัล แบบที่คนอื่นๆ เขาใช้ประกอบเอกสารในการสมัครคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษา หรือสมัครเข้าทำงาน ต่างกันตรงที่พอร์ตโฟลิโอของหนึ่งในประติมากรอันดับต้นๆ ของประเทศในยุคนั้นอย่าง เขียน ยิ้มศิริ คงไม่ต้องเอาไปใช้ยื่นสมัครอะไรที่ไหน […]
 ไวน์ปาร์ตี้ ไปกับ คาร์โล ริโกลี และ ออร์โซลินี 

 ไวน์ปาร์ตี้ ไปกับ คาร์โล ริโกลี และ ออร์โซลินี 

Aug 14, 2023
(ซ้าย) คาร์โล ริโกลี (ขวา) กาลิเลโอ คินี ถ่ายที่กรุงเทพฯ – ภาพจาก facebook ตามรอยกาลิเลโอ คินี ในปี พ.ศ. 2453 ศิลปินหนุ่มชาวอิตาเลียน นามว่า คาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) ใช้เวลาหลายเดือนล่องเรือเดินสมุทรที่ออกเดินทางจากยุโรป ลัดเลาะไปตามชายฝั่งทวีปแอฟริกา ต่อไปยังอินเดียมุ่งหน้าไปสู่จุดหมายคือราชอาณาจักรสยามที่อยู่ห่างไกลไปทางตะวันออก ถึงจะไม่รู้ว่าสถานการณ์ในภายภาคหน้าในดินแดนที่ไม่คุ้นเคยจะเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยการเดินทางที่ไกลที่สุดในชีวิตของริโกลีก็น่าจะเป็นไปด้วยดี เพราะชายชาวสยามผู้เชื้อเชิญศิลปินฝรั่งให้มาปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้เป็นถึงพระเจ้าแผ่นดิน            ย้อนเวลาไป 27 ปีก่อนหน้า ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2426 ณ เมือง เซสโต ฟิออเรนติโนเมืองเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยโบสถ์ ปราสาทราชวังอายุหลายร้อยปี และเป็นแหล่งผลิตเครื่องกระเบื้องชั้นดีส่งไปขายทั่วยุโรป คาร์โล ริโกลี ได้ลืมตาดูโลก เด็กชายริโกลีเติบโตขึ้นมาพร้อมๆกับพี่น้องอีก4 คนในครอบครัวที่มีอันจะกิน ริโกลีได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีโดยพ่อกับแม่ตั้งใจว่าเมื่อลูกชายนายนี้เติบใหญ่จะให้ไปบวชเป็นบาทหลวง แต่ริโกลีกลับอยากจะเอาดีทางด้านศิลปะมากกว่า ไม่อยากเบนไปทางสายบุญอย่างที่ครอบครัวคาดหวัง           ริโกลีจึงเลือกเดินตามความฝันของตัวเองด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นจิตรกรให้ได้ จนโชคชะตานำพาให้ไปพบพานกับ กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) ศิลปินรุ่นอาวุโสกว่าที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการแสดงผลงานทั่วยุโรป ซึ่งก็รวมถึงงานใหญ่ระดับโลกอย่างเทศกาลศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่จัดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2450 ในช่วงเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ระหว่างการเสด็จฯประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พอดิบพอดี จึงทรงเสด็จฯไปร่วมเทศกาลศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ ในครั้งนั้นด้วย ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดผลงานของคินี จึงทรงมีพระราชดำริให้ทาบทามตัวมาช่วยวาดภาพประดับพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งกำลังมีแผนจะก่อสร้างกันอยู่ในขณะนั้น ราชสำนักสยามเจรจากับคินีได้สำเร็จ แต่ด้วยปริมาณงานอันมากมายทำคนเดียวให้เสร็จสิ้นในเวลาที่กำหนดคงเป็นไปไม่ได้ คินีจึงตัดสินใจชักชวนริโกลีให้มาร่วมงานด้วย ที่กรุงเทพฯ ริโกลีกลายเป็นศิลปินเต็มตัวสมใจ งานหลักของริโกลีคือวาดภาพพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีขนาดใหญ่ยักษ์บนเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคมร่วมกับคินี ริโกลีกลายเป็นศิลปินที่มีงานชุก ทั้งวาดภาพตกแต่งตำหนัก พระที่นั่ง วัด และสถานที่อื่นๆอีกเพียบ ยิ่งตอนหลังคินีต้องกลับประเทศอิตาลีไปก่อนเพื่อดูแลภรรยาที่ป่วย ริโกลีเลยยิ่งมีงานราษฎร์งานหลวงให้วาดเยอะขึ้นไปอีก […]